บทความในเดือน: May 2017
31May,17
ไอเดียปลูกกุหลาบด้วยหัวมันฝรั่ง
เราสามารถทำให้ช่อกุหลาบที่เราได้มาเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ สามารถอยู่กับเราไปได้อีกนาน ด้วยเทคนิคการปลูกกุหลาบด้วยหัวมันฝรั่ง...
อ่านต่อ23May,17
ใครปลูกผักคะน้า ระวังเพลี้ยอ่อน-หนอนใยผัก…เผยวิธีปราบให้ชะงัก
สภาพอากาศภาคเหนือตอนบนในระยะนี้ กลางวันจะร้อนจัด และกลางคืนจะหนาว กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกคะน้าเฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยอ่อนและหนอนใยผัก สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของคะน้า เพลี้ยอ่อน จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน และใบแก่ ทำให้ส่วนยอดและใบหงิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มจำนวนมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะมีสีเหลือง หากพบให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีโทเฟนพร็อกซ์ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หนอนใยผัก […]
อ่านต่อ19May,17
โรงเห็ดมินิ 1 ตารางวา ไอเดียสาวเภสัชรักสุขภาพ
“เรียนจบเภสัชศาสตร์ แต่ทางครอบครัวให้กลับมาช่วยทำงานในกิจการทางบ้าน ด้วยเราเป็นคนที่รักสุขภาพ ว่างจากงานประจำ จึงลองมาเพาะเห็ดเล่น มีทั้ง ออริจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน ฯลฯ เอาไว้กินเองและขายเสริมรายได้ แต่ไป ๆ มา ๆ มีผู้บริโภคให้ความสนใจ แวะเวียนมาซื้อกันเป็นจำนวนมาก บางรายถึงขั้นอยากจะเพาะเห็ดไว้กินเองบางอยากได้โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก เราจึงได้ออกแบบโรงเพาะเห็ดขนาดมินิขึ้นมา เพื่อให้สามารถนำไปวางข้างบ้าน ในโรงรถ เพื่อสะดวกในการเก็บเห็ดไว้กิน และมีเหลือแบ่งไปขายได้บ้าง คุณสาธนี สกุลวัฒนะ สาวเภสัชวัยเบญจเพส ทายาท “ออร์แกนิคแลนด์” ริมถนนสาย 346 ต.หนองลาน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เล่าถึงที่มาของโรงเพาะเห็ดขนาดน่ารักน่าชัง ใช้พื้นที่ไม่เกิน 1 ตารางวา ที่ร่วมกับคนในครอบครัวช่วยกันออกไอเดียสร้างขึ้นมา…เป็นโรงเห็ดมินิ ขนาดกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.75 เมตร สูง 2.10 เมตร โดยมีเหล็กล่องขนาด 1 นิ้ว ทาสีกันสนิมอย่างดี เป็นโครงสร้างหลัก มีให้เลือก 2 รูปแบบ […]
อ่านต่อ18May,17
ไอเดียเจ๋ง! ทำผลไม้ในขวดป้องกันศัตรูพืช เพิ่มมูลค่าเป็นเท่าตัว
คุณไสว ศรียา เกษตรกร ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้คิดค้นการนำเอาผลไม้ชนิดต่าง ๆ ใส่อยู่ในขวด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เพิ่มมูลค่าให้กับไม้ผลที่ปลูก ทั้งมะม่วง ฝรั่ง และ ทุเรียนในขวดแก้วมาวางขาย โดย คุณไสว ได้เปิดเผยถึงเทคนิคในการทำผลไม้ในขวด ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ก่อนอื่นให้เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ขวดแก้วใส (ต้องเป็นขวดแล้วใส เพราะมันจะสังเคราะห์แสงได้ดีกว่า ทำให้ผลไม้มีสีและผิวสวย เป็นธรรมชาติ) เชือกฟาง (ใช้สำหรับการผูกยึดติดกับกิ่งของผลไม้) และเลือกผลไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าปากขวด แล้วใส่ผลลงไปในขวด จากนั้นใช้เชือกปลายด้านหนึ่งมัดปากขวดให้แน่น แล้วโยงเชือกอีกปลายไปผูกติดไว้กับกิ่งของต้นไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขั้วผลหลุดเพราะความหนักของขวด และดูแลรักษาตามปกติ จนกว่าผลไม้ในขวดจะโต หรือ สุก จนสามารถรับประทานได้ จึงตัดขายทั้งขวด สำหรับราคา จากปกติกิโลกรัมละ 20 -25 บาท (4 ลูก ต่อกิโลกรัม) แต่ถ้ามาทำเป็นฝรั่งในขวดแก้วแล้ว จะสามารถขายได้ถึงลูกละ 50 บาท / ขวดเลยทีเดียว หรือถ้าเป็นทุเรียนจากปกติ ประมาณผลละ 100 บาท […]
อ่านต่อ11May,17
เทคนิค..รากจตุรทิศ มะปรางหวาน 1ปี..มีลูก
มะปรางหวาน-มะยงชิด ปกติต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 3 ปี เจ้าของถึงจะได้ลิ้มรสความหวานอร่อย แต่วันนี้เกษตรกรนครนายกค้นพบเทคนิคใหม่...ปีเดียวติดผล!!!
อ่านต่อเฟิร์นข้าหลวง จากป่าสู่สวนสวย ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
ปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าพืชพรรณต่างๆ ที่มาจากป่ามักจะมาแรงในการนำมาใช้เป็นไม้ประดับสวนและสถานที่ต่างๆ เพราะต้องบอกว่าพันธุ์ไม้เหล่านี้มักจะมีเสน่ห์เฉพาะตัวแบบหาตัวจับได้ยากดั่งเช่น เฟิร์นข้าหลวง ที่เป็นไม้ป่าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการไม้ประดับอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
อ่านต่อเกษตรสร้างชาติ : ปลูกแตงกวาญี่ปุ่นไร้ดินสร้างเงินแสน
เกษตรสร้างชาติ : ปลูกแตงกวาญี่ปุ่นไร้ดินสร้างเงินแสน...เชียงใหม่ 20 ก.พ. – “เกษตรสร้างชาติ” วันนี้ พาไปดูตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรที่เชียงใหม่ ซึ่งผันตัวเองจากช่างจิวเวลรี่มาปลูกแตงกวาญี่ปุ่นแบบไร้ดิน ในพื้นที่บ้านซึ่งมีไม่ถึง 200 ตารางวา ทั้งที่ไม่มีความรู้การเกษตรเลย แต่ด้วยความขยัน ใส่ใจ ทำให้ทุกวันนี้เขามีรายได้ปีละหลายแสนบาท
อ่านต่อเกษตรกรไทยกับนโยบาย 4.0 ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีที่เกษตรกรไทยต้องตามให้ทัน
เกษตรกรไทยกับนโยบาย 4.0 ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีที่เกษตรกรไทยต้องตามให้ทัน...ประเทศไทยในยามนี้ถือว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องปรับตัวจากเดิม โดยเฉพาะด้านอาชีพทางการเกษตรที่เริ่มมาตั้งแต่เกษตรกรรมหรือยุค 1.0 ที่ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก เช่น ไม้สัก ยางพารา ข้าว ฯลฯ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นยุคอุตสาหกรรมเบาหรือยุค 2.0 ที่ใช้เครื่องจักรเข้ามาใช้ในการทุ่มแรงงานคน ช่วยในการผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ
อ่านต่อ