พาริช ไนโตร 40-0-0 + 4S
- ใช้แทนยูเรีย ละลายง่าย ระเหยน้อย สารป้องกันการระเหยนำเข้าจากอเมริกา ลดการระเหยหายกว่า 30%
- ใช้น้อยไม่สิ้นเปลือง สามารถลดการใช้ลงได้ถึง 20% เพราะไม่ระเหยหาย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีกำมะถัน (sulfer) เป็นส่วนประกอบมากถึง 4% ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชมีใบเขียว สังเคราะห์แสงได้ดี และยังเสริมการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิด
- นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ธาตุอาหารผลิตภัณฑ์
ไนโตรเจน | 40% |
ฟอสฟอรัส | 0% |
โพแทสเซี่ยม | 0% |
ธาตุอาหารรอง | กำมะถัน 4% |
ขนาดบรรจุ | 40 กิโลกรัม |
เทคโนโลยีของพาริช ไนโตร
พาริช ไนโตร คือปุ๋ยไนโตรเจนชนิดใหม่ ละลายง่าย แต่ระเหยยาก สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรียทั่วไปแต่เพิ่มความคุ้มค่า ผลิตโดยการผสมแอมโมเนียมซัลเฟต กับยูเรียที่ลดการระเหยจาดประเทศสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า N-butyl thiophosphoric triamide (NBPT) ซึ่งสารนี้ได้รับการยอมรับมาแล้วจากทั่วโลกว่าสามารถลดการระเหยได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมมีขายแล้วในมากกว่า 70 ประเทศ มีวิจัยรับรองจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 1,300 ชิ้น
โดยการที่ไนโตรเจนไม่ระเหยไปในอากาศ ทำให้มีสารไนโตรเจนเหลือในดินมากและยาวนาน ช่วยให้พืชได้ดูดซับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน พืชจึงแข็งแรง เขียวนาน ผลผลิตสูง นอกจากนั้น พาริช ไนโตร ยังประกอบด้วยธาตุกำมะถันหรือซัลเฟอร์ (Sulfer) มากถึง 4% โดยกำมะถันจะช่วยพืชในการสร้างโปรตีน, เอ็นไซม์ และไวตามินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชมีใบเขียวแข็งแรง สร้างอาหารได้มาก ผลผลิตสูง
เปรียบเทียบยูเรียทั่วไปและพาริช ไนโตร
หลักการทำงานของพาริช ไนโตร
ปกติเมื่อใส่ยูเรียลงดิน จะมีเอ็นไซม์ที่เรียกว่าเอ็นไซม์ยูริเอสเปลี่ยนยูเรียให้เป็นแอมโมเนียและไนเตรท ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวไนโตรเจนจะระเหยหายในรูปของแก๊สแอมโมเนียและแก๊สไนโตรเจน ใส่ไม่นานยูเรียก็ระเหยหายหมด
แต่สาร N-butyl thiophosphoric triamide (NBPT) ใน พาริช ไนโตร ช่วยชะลอการทำงานของเอ็นไซม์ยูริเอส ทำให้ยูเรียเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียและไนเตรทช้าลง ปุ๋ยจึงค่อยๆปลดปล่อยไนโตรเจนให้พืชได้ใช้ พืชได้อาหารมากและยาวนานขึ้น ใบจึงเขียวนาน ต้นแข็งแรง และให้ผลผลิตมาก
พาริช ไนโตร ต่างกับปุ๋ยอื่นๆ อย่างไร?
สาร N-butyl thiophosphoric triamide หรือ NBPT ไม่ใช่การนำสารต่างๆไปเคลือบเปลือกนอกของยูเรียเหมือนกับซัลเฟอโค๊ตยูเรียหรือโพลิเมอร์โค้ตยูเรีย ซึ่งคล้ายกับการนำน้ำตาลมาเคลือบเม็ดช็อคโกแล็ตของ m&m ซึ่งจะทำให้ยูเรียละลายช้าเกษตรกรอาจไม่ชอบ นอกจากนั้นถ้าเปลือกนอกยังไม่ละลายต้นไม้ก็ไม่ได้กินยูเรียข้างในทำให้ต้นไม้ ไม่ได้รับธาตุไนโตรเจนในช่วงต้น และพอเปลือกนอกละลาย ยูเรียก็จะทำปฏิกริยากับเอ็นไซม์ยูริเอส ทำให้ยูเรียระเหยหายอยู่ดี
แต่การทำงานของ พาริช ไนโตร เป็นการนำสารเคมีไปทำปฏิกริยากับผิวของยูเรีย เพื่อป้องกันไม่ให้ยูเรียเปลี่ยนรูปไปเป็นก๊าซแอมโมเนีย แล้วระเหิดหายไป ดังนั้นสาร NBPT จึงทำหน้าที่เป็นสารลดการละเหย ไม่ใช่สารชะลอการละลาย ทำให้สามารถละลายง่ายแต่ระเหยยาก พืชได้รับไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากจะทำให้ต้นไม้ได้กินอาหารอย่างเพียงพอตั้งแต่ระยะต้นอย่างต่อเนื่องนั้น พาริช ไนโตร ยังไม่ทำให้รากช็อกจากการใส่ปุ๋ยเกินขนาดอีกด้วย เมื่ออยู่ในน้ำ สาร NBPT ก็ยังสามารถทำปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ยูริเอสได้ จึงทำให้สามารถใช้กับพืชที่ต้องแช่อยู่ในน้ำนาน เช่นข้าวอีกด้วย
ซัลเฟอร์ (Sulfur) หรือกำมะถันในพาริช ไนโตรสำคัญอย่างไร
พาริช ไนโตร ผสมธาตุกำมะถันมากถึง 4% เพื่อที่จะช่วยในการ
- เสริมการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิดและสังเคราะห์วิตามินให้กับพืช
- สร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชมีใบเขียว สังเคราะห์แสงได้ดี
- ส่งเสริมเจริญเติบโตของรากและการผลิดเมล็ด(ข้าว)
- ทำให้ต้นไม้สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ธาตุกำมะถันจัดเป็นธาตุอาหารพืชในกลุ่มธาตุอาหารรองแต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เนื่องจากธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน วิตามินและโคเอนไซม์ ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน เพราะธาตุกำมะถันช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลง ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด โดยเฉพาะพืชที่ต้องการธาตุกำมะถันมากเป็นพิเศษ เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน อ้อย พืชตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสัตว์ และพืชผักต่างๆ
โดยปกติอินทรียวัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน โดยจะสังเกตได้ว่าดินที่ขาดอินทรียวัตถุ (มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 2%) ส่วนใหญ่จะขาดกำมะถันด้วย และเพราะการเผาฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว และการขาดการเติมอินทรียวัตถุในดิน รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมี ที่ไม่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ยูเรีย ทำให้ดินมีปริมาณกำมะถันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต นอกจากนั้นซัลเฟอร์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปซัลเฟตสามารถละลายน้ำได้ดีจึงถูกชะออกจากดินได้ง่าย
ต้นไม้ที่ขาดกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตรเจน แต่มีข้อแตกต่างคือการขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ ในข้าวกาบใบจะเริ่มมีสีเหลืองก่อนแล้วค่อยลุกลามสู่ใบ ข้าวจะแตกกอเล็กลง รวงจะน้อยและสั้น จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง
ตารางสรุปความแตกต่าง
หัวข้อ | ยูเรีย (เม็ดโฟม) | 40-0-0 พาริชไนโตร | ข้อแตกต่าง |
ปริมาณไนโตรเจน | พาริชไนโตรอาจมีธาตุไนโตรเจนน้อยกว่า ยูเรียเม็ดโฟมทั่วไป | ||
การสูญเสียธาตุอาหาร (ระเหยไปอากาศ) | ยูเรียทั่วไประเหยหายไปในอากาศได้ง่าย ต่างจาก พาริช ไนโตร ที่ลดการระเหยทำให้ยูเรียอยู่ในดินให้พืชได้ใช้นาน | ||
อัตราการใช้ | พาริช ไนโตร ระเหยหายน้อยจึงสามารถลดการใช้ ประหยัด | ||
ปริมาณกำมะถัน | พาริช ไนโตร มีส่วนผสมของซัลเฟอร์หรือกำมะถันมากถึง 4% ซึ่งซัลเฟอร์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างคลอโรฟิลล์ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดี มีใบเขียวเข้ม | ||
การละลาย | สามารถละลายได้ง่าย และเร็วเท่ากัน |