Auto Draft

เทคนิคปลูกถั่วลันเตาในกระถางแบบอินทรีย์

การปลูกถั่วลันเตาในกระถางแบบอินทรีย์นั้นจะมีขั้นตอนปลูกยากหรือง่ายไหมจะมีเทคนิคและขั้นตอนในการทำอย่างไร และจะมีเทคนิคการดูแลยังไงให้ได้ผลเราไปดูกันเลยค่ะ

การปลูกถั่วลันเตาในกระถางนั้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ตอบสนองต่อคนในชุมชนเมือง เพราะถั่วลันเตาเป็นพืชระยะสั้นและเป็นพืชฤดูเดียว ชอบอากาศเย็น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกในบริเวณบ้าน อาคาร หรือคอนโดที่อากาศไม่ค่อยร้อนได้อีกด้วย (ถั่วลันเตาเป็นพืชที่ต้องการแสงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นค่ะ) ดังนั้น ถึงจะมีพื้นที่จำกัด แค่คุณชอบในการปลูกพืชก็เพียงพอแล้วที่จะเริ่มปลูกถั่วลัันเตาค่ะ

วัสดุ/อุปกรณ์ มีดังนี้

วัสดุ

  1. เมล็ดถั่วลันเตา
  2. ดิน
  3. พีทมอส หรือวัสดุเพาะเมล็ด
  4. แกลบดำ
  5. ปุ๋ยมูลสัตว์
  6. ทิชชู หรือ ผ้าขาวสะอาด

อุปกรณ์

  1. กระถางพลาสติกสีดำขนาด 12 นิ้ว
  2. ไม้ไผ่ผ่าซีก ขนาดความยาว 1 เมตร 20 เซนติเมตร
  3. อวนล้อมไก่ยาว 1 เมตร กว้าง 25 เซนติเมตร
  4. เชือกฟาง
  5. กล่องบ่มเมล็ด
  6. ช้อนปลูก, ส้อมพรวน
  7. ถุงปลูกสีดำขนาดเล็กสุด

ขั้นตอนการบ่มเมล็ด

นำเมล็ดถั่วลันเตาแช่น้ำไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง เมื่อได้เมล็ดถั่วลันเตาที่แช่น้ำแล้ว นำมาเรียงบนกระดาษทิชชูให้มีระยะห่างระหว่างเมล็ดประมาณ 1 นิ้ว เมื่อเรียงเสร็จแล้วให้นำทิชชูอีกแผ่นวางทับบนเมล็ดอีกที หลังจากนั้นก็พรมน้ำให้ทั่ว ซึ่งห้ามพรมแฉะจนเกินไป ควรพรมทุก ๆ 8 ชั่วโมง และสังเกตด้วยว่ารากเริ่มงอกถึง 1 เซนติเมตรหรือยัง ถ้ารากเริ่มออกจากเมล็ดแล้ว แยกเพาะลงถุงปลูกได้ค่ะ

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

เตรียมถุงปลูกขนาดเล็กใส่พีทมอส อัตราการใส่พีทมอสคือ 3 : 4 ของถุงปลูก นำเมล็ดถั่วลันเตาที่บ่มแล้ว โดยคัดเลือกเมล็ดที่งอกสมบูรณ์ มาเพาะลงในถุงปลูก รดน้ำทุกวันขณะเพาะจนถึงวันที่ 7 จากนั้นจึงย้ายไปปลูกลงกระถางค่ะ

ขั้นตอนการย้ายปลูก

  1. เตรียมดินใส่กระถางปริมาณอัตราส่วนที่เติมดินและแกลบดำในอัตรา 1 : 1 ใส่ดินที่ผสมแล้วให้ถึงขีดขอบกระถาง
  2. ปักไม้ไผ่ทำค้างก่อนปลูก ถ้าทำค้างหลังปลูกอาจทำให้ไม้ไผ่ไปกระทบกระเทือนรากถั่ว จนทำให้ถั่วชะงักการเจริญเติบโตได้ (การทำค้าง คือ การปักไม้ลงไปในดินให้มั่นคง เพื่อให้ไม้เลื้อยเลื้อยไปเกาะยึด)
  3. นำอวนล้อมไก่ผูกติดกับไม่ไผ่ ขึงให้ตึง
  4. ขุดหลุมในกระถางลึก 15 เซนติเมตร แล้วนำต้นถั่วออกจากถุงเพาะ ย้ายลงปลูกในกระถาง เกลี่ยดินกลบบริเวณโคลนต้น

การดูแล

ถั่วลันเตาเป็นพืชที่ชอบอุณหภูมิต่ำ เป็นพืชเมืองหนาว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ค่ะ ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของแต่ละคน แต่ควรเลี่ยงปลูกในฤดูฝน เพราะในฤดูฝนอาจมีโรคที่เกี่ยวกับเชื้อรา ซึ่งรานั้นเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของพืชตระกูลถั่วเป็นอย่างมากค่ะ

การให้น้ำ

ถั่วลันเตาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ก็ไม่ควรขาดหรือให้น้ำจนขังนอง ควรให้แต่พอดี ถ้าปลูกในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ ควรให้น้ำวันเว้นวัน เนื่องจากปลูกในกระถางอาจจะทำให้น้ำขังได้ แต่ต้องให้น้ำบ่อยกว่าปลูกบนดินนะคะ ถ้าปลูกในช่วงที่อุณหภูมิเริ่มอุ่นไปจนถึงสูงควรให้น้ำวันต่อวันเลยค่ะ

การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยหลังจากย้ายปลูกสองวัน จากนั้นเว้นไปอีก 14 วันจึงเริ่มให้อีกรอบ ปริมาณที่ใส่คือ 1 ช้อนแกง โรยติดขอบกระถาง สำหรับในครั้งแรกที่ให้ควรถอนหญ้าและพรวนดินกลบ และรดน้ำตามทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยเสร็จแล้ว

การเก็บเกี่ยว

อายุพันธุ์ถั่วกินฝักของเจียไต๋ในซองตัวนี้ คือ 70 วัน ในระยะวันที่ 25 – 35 คือระยะการออกดอกของพันธุ์นี้ เวลาที่เหมาะสมในการเก็บถั่วลันเตาคือ หลังจากดอกบานแล้ว 7 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง สามารถเก็บไปเรื่อย ๆ จากระยะเวลาออกดอกอีก 15 – 25 วัน

ข้อควรระวัง

  1. ไม่ควรแช่เมล็ดในน้ำนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง
  2. ควรทำค้างก่อนที่จะย้ายต้นกล้าถั่วลันเตาลงปลูก มิฉะนั้นการปักค้างอาจส่งผลกระทบต่อรากของต้นถั่วลันเตา จนทำให้การเจริญเติบโตชะงักลงได้
  3. หลังจากย้ายปลูกควรรดไตรโคเดอร์มา ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น ใบ และรดดินด้วย เพื่อป้องกันโรคเชื้อรา
  4. ระยะออกดอกไม่ควรขาดน้ำ เพราะจะทำให้ไม่ติดฝัก

โรคและศัตรู

  1. โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ >>> เกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของถั่วลันเตา ตั้งแต่ระยะเพาะไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
  2. โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก >>> เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะออกดอกไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/55759/-blo-agragr-agr-

[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%99/" width="375" count="off" num="3" title="แสดงความคิดเห็น" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save