เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต
28Jun,16
อาชีพหลักของคนไทย 80% คืออาชีพทำการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ สุดของการทำการเกษตร แต่เนื่องจากว่าเกษตรกรได้ปลูกข้าวมานาน การปรับปรุงบำรุงดินให้คืนสภาพเดิมมีน้อยมากนั่นคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การเผาตอซังหรือการเผานายิ่งทำให้เกิดผลเสียกับดินมากกว่าผลดีที่จะได้รับ เพราะเป็นการเผาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และยังเผาทำลายสัตว์เล็กๆในดิน ดินที่ถูกเผาก็จะแห้ง,แข็ง ดินจะตายปลูกพืชๆก็จะไม่เติบโต พืชแคระแกรนการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และถ้ามีการใช้อย่างต่อเนื่องดินก็จะเสียเช่นกัน การตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตของข้าวก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ เพราะใบข้าวที่ถูกตัดออกก็จะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการตัดใบข้าว
1.ถ้าทำนาในช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ทำการตัดใบข้าว 3 ครั้งดังนี้
1.1 ตัดครั้งที่ 1 ต้นเดือนกรกฎาคม
1.2 ตัดครั้งที่ 2 ต้นเดือนสิงหาคม
1.3 ตัดครั้งที่ 3 ต้นเดือนกันยายน (ไม่ควรเกินวันที่ 5 กันยายน จะเป็นการเสี่ยงเกินไปเพราะช่วงเวลาดังกล่าวข้าวจะออกใบใหม่ได้ทันและจะเริ่มตั้งท้องประมาณวันที่ 20 -25 กันยายน) สำหรับการตัดครั้งที่ 3 ให้ระมัดระวังและสังเกตเป็นพิเศษ ถ้าไม่มั่นใจ คือก่อนจะทำการตัดใบข้าวให้ทำการผ่าต้นข้าวดูก่อน ถ้าต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง (ต้นข้าวจะมีลักษณะกลมมีข้อปล้อง ) ห้ามตัดใบข้าวอย่างเด็ดขาด
- ถ้าทำนาก่อนเดือนพฤษภาคมให้ทำการตัดใบข้าวในช่วงเดียวกัน แต่ให้ระวังในการตัดใบข้าวในช่วงที่ 3 เพราะต้นข้าวจะแก่ลำต้นข้าวจะแข็งและตั้งท้องเร็วกว่าปกติเล็กน้อย
- การใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายหลังที่มีใบมีดคมๆ โดยตัดที่ตำแหน่งเหนือสะดือของต้นข้าว (สูงกว่าซอกกาบใบของต้นข้าว )
- ในกรณีการใช้เคียวเกี่ยวใบข้าว ให้วางเคียวขนานกับพื้นดินการเกี่ยวใบออกจะได้ระดับและความ สูงสม่ำเสมอกัน
- ใช้ได้ผลดีทั้งข้าวนาดำและนาหว่านแต่ข้าวนาหว่านการตัดใบข้าวจะทำได้ลำบากเพราะต้นข้าวจะถี่
- ข้าวกำลังตั้งท้องห้ามตัดใบอย่างเด็ดขาด
- พื้นที่ปลูกข้าวที่มีลักษณะเสี่ยง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมได้ง่าย, พื้นที่ดอนหรือแห้งแล้งจัดเพราะพืชอาจจะโดนน้ำท่วมในกรณีที่ฝนมาเร็วและอาจจะแห้งตายในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง (ควรฟังพยากรณ์อากาศด้วย)
- ลดปริมาณของใบข้าว ,ตัดใบข้าวแก่ที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
- ช่วยกำจัดวัชพืช (หญ้า)ได้ เป็นการตัดวงจรของวัชพืชได้เป็นอย่างดี
- ช่วยลดการระบาดของโรค–แมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
- ใบข้าวที่ตัดออกจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้อย่างดีหรือจะนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ก็ได้
- ทำให้ข้าวมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเมล็ดข้าวมีน้ำหนักขายได้ราคา
- ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น ปุ๋ย, ยาป้องกันกำจัดโรค – แมลง, ยาปราบศัตรูพืช
- แสงแดดสามารถส่องถึงพื้นน้ำ/ดิน อากาศในดินระบายได้ดีทำให้เกิดการสร้างแหล่งอาหารตาม ธรรมชาติได้ดีเช่นแพลงต้อน/ไรน้ำ
- การเก็บเกี่ยวง่ายไม่มีวัชพืชเจือปนกับเมล็ดข้าว
- เมื่อนำไปจำหน่ายจะได้ราคาที่สูงขึ้นเพราะเมล็ดข้าวสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน
- การคิดระยะการตัดใบข้าวใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ข้าวชนิดอื่นปรับระยะการตัดใบตามความเหมาะสม
- การตัดใบข้าวจะตัด 1- 2 ครั้งก็ได้แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้ง (ให้สังเกตถ้าใบข้าวคลุมหญ้าได้ ก็ไม่ต้องตัดใบข้าวอีก )