คะน้ายอดดอยคำ
คะน้ายอดดอยคำ (Doi Kham Chinese Kale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea var. alboglabra คะน้ายอด หรือคะน้าก้าน จัดอยู่ในตระกูล Cruciferaceae มีแหล่งกำเนิดแถบเอเชียไมเนอร์ ลักษณะโดยทั่วไปของคะน้ายอด หรือคะน้าก้าน ลำต้น และก้านใบ อวบ ใหญ่ มีข้อตามลำต้น ใบค่อนข้างแหลม เรียบ สีเขียวอมเทา จำนวนใบต่อต้นน้อยกว่าคะน้าทั่วไป และปล้องยาวกว่า มีน้ำหนักส่วนต้นและก้านมากกว่าใบ ตามักจะแตกออกเป็นยอดใหม่ หลังจากเก็บยอดแรกที่มีช่อดอกตูมติด
สภาพแวดล้อมในการปลูกคะน้ายอด
โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูกคะน้ายอด อยู่ระหว่าง 20-25 ‘C การปลูกในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15’C จะทำให้การเจริญเติบโตช้า ลำต้นและใบอวบใหญ่กว่าปกติ ข้อถี่ การปลูกในสภาพอากาศร้อนสูงกว่า 30’C คุณภาพผลผลิตต่ำ เยื่อใยสูง เหนียว จำเป็นต้องให้น้ำมากกว่าปกติ สำหรับพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-800 เมตร สามารถปลูกได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิการยน-กุมภาพันธ์ ส่วนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
สำหรับดินปลูกควรร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่างดินควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 หากพื้นที่ปลูกเป็นกรดควรปรับด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ดินปลูกควรมีความชื้นสูงมากกว่าพืชทั่วไป ดังนั้นต้องให้นน้ำอย่างสม่ำเสมอ และพอเพียง และำ้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ หากขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต เส้นใยมาก รสชาติไม่อร่อย
การใช้ประโยชน์ และคุณค่าอาหารของคะน้ายอด
นิยมนำมาผัด หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารประเภทยำ คะน้าโดยทั่วไปมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากนั้นยังมีวิตามินซีสูงกว่าผักใบอื่นๆ โดยทั่วไป นับเป็นผักที่มีคุณค่ายิ่ง ช่วบบำรุงสายตา ผิวพรรณ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคกระดูกบาง
การปฏิบัติดูแลรักษาคะน้ายอด ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า มี 2 วิธี เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่าง ทราย : ขุยมะพร้าว : หน้าดิน อัตราส่วน 2:1:1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 18-21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก
การเตรียมดิน ขุดดินลึก 10-15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วัน โรยปูนขาวหรือโดโลไมท์อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก(มูลไก่) หรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
การปลูก ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุ 18-21 วัน ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30×30 ซม. ฤดูฝนและหนาว 30×40 ซม. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวควรใช้ระยะปลูก 25×25 ซม.
การให้น้ำ ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ 1-2 วัน/ครั้ง
การให้ปุ๋ย เนื่องจากคะน้ายอดเป็นผักกินใบ ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูง
ใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7 วัน หลังปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ใส่บริเวณลำต้น
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังปลูก 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ผสม 15-15-15 อัตรา 1 : 2 ผสมกัน ใช้อัตรา 50 กรัม/ตร.ม.
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 21 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 30-20-10 อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้น
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 45-60 วัน ตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า หรือเมื่อเริ่มมีดอก
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของคะน้ายอดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,
ระยะเจริญเติบโต 40-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ,
ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้, หนอนคืบ
ที่มา: https://vegetweb.com/คะน้ายอดดอยคำ/