ใครปลูกผักคะน้า ระวังเพลี้ยอ่อน-หนอนใยผัก…เผยวิธีปราบให้ชะงัก

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

สภาพอากาศภาคเหนือตอนบนในระยะนี้ กลางวันจะร้อนจัด และกลางคืนจะหนาว กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกคะน้าเฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยอ่อนและหนอนใยผัก สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของคะน้า เพลี้ยอ่อน จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน และใบแก่ ทำให้ส่วนยอดและใบหงิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มจำนวนมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะมีสีเหลือง หากพบให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีโทเฟนพร็อกซ์ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หนอนใยผัก มักพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่บนใบและใต้ใบพืชเป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก ส่วนใหญ่จะพบไข่ที่ใต้ใบพืช หนอนมีตัวเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็นสองแฉก เมื่อถูกตัวหนอนจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนจะเข้าทำลายกัดกินผิวใบ ทำให้ใบผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นหนอนจะชักใยบางๆ คลุมตัวไว้ติดอยู่กับใบพืชเพื่อเข้าดักแด้ วิธีปราบหนอนใยผักให้ชะงัก ให้เกษตรกรใช้วิธีป้องกันกำจัดหนอนใยผักแบบผสมผสาน คือ การใช้วิธีกล การใช้ชีววิธี การใช้วิธีเขตกรรม และการใช้สารเคมี รายละเอียด ดังนี้ การใช้วิธีกล แบบใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียว ให้ติดตั้งกับดัก อัตรา 80 กับดักต่อไร่ โดยเฉลี่ยจับผีเสื้อหนอนใยผักได้ 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก และเปลี่ยนกับดักทุก 7-10 วันครั้ง จะสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 50% แบบใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง ให้ปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) จะสามารถป้องกันหนอนใยผักและหนอนผีเสื้อชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา เพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้ การใช้ชีววิธี ให้เกษตรกรใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเยนซิส อัตรา 100-200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ไม่ควรใช้ในแหล่งปลูกผักภาคกลาง ในช่วงที่ระบาดมากพิจารณาการใช้อัตราสูงและช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้น หรือพ่นสลับกับสารเคมี วิธีเขตกรรม ให้ไถพรวนดินตากแดด หรือทำลายซากพืชอาหาร หรือปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อลดการขยายพันธุ์และลดการระบาดอย่างต่อเนื่อง การใช้สารเคมี ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลเฟนไพแรด 16% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ข้อแนะนำกรณีใช้สารเคมี ควรพ่นสารสลับชนิดกัน และไม่พ่นสารชนิดเดียวเกิน 2-3 ครั้งต่อฤดู หากระบาดลดลงให้ใช้สารเคมีสลับกับการใช้ชีววิธี เนื่องจากหนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้รวดเร็วและหลายชนิด ให้เกษตรกรพิจารณาเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตให้เกิดความเสียหายได้ตามความเหมาะสม แหล่งที่มา: http://www.kasetkaoklai.com/home/2017/ปลูกผักคะน้า-แมลง/
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save