เปิดเทคนิคการปลูกมะละกอให้ดกแบบคุณภาพของสวนปรีชา 8 ไร่ เก็บครั้งละ 3-4 ตัน ฟันเงินกว่า 2.5 แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

เรียกว่าสร้างความฮือฮาแบบไลท์ถล่มทลายในกลุ่มเกษตรก้าวใหม่หลังจากที่ได้เห็นความดกแบบอลังการของมะละกอสวนนี้ ทำให้หลายคนอยากรู้เทคนิคการทำมะละกอให้ติดดกแบบคุณภาพ เพราะนั่นหมายถึงปริมาณผลผลิตที่สูงมากๆ แม้ราคามะละกอในช่วงนี้อาจไม่สูงมากนักแต่จากผลผลิตที่ดกเต็มคอและคงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปได้อีกยาวนานก็คงจะทำเงินให้กับสวนนี้ได้อีกไม่น้อยทีเดียว ขนาดมะละกอราคาไม่ค่อยดีแต่เพียงระยะเวลา 2 เดือนกว่าที่เก็บผลผลิตก็สามารถทำเงินได้มากกว่า 2.5 แสนบาท หากราคามะละกอสูงกว่านี้ คงฟันเงินไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน 120 ทำสวนมะละกอครั้งแรก…หลังวิกฤติอ้อยตกต่ำ ไม่น่าเชื่อว่า มะละกอคุณภาพขนาดนี้จะเป็นการทำสวนมะละกอครั้งแรกของเด็กหนุ่มไฟแรงมากความสามารถที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ไม่กี่ปี คุณปรีชา กาละวัย เจ้าของสวนมะละกอปรีชา บอกกับเราว่า นี่เป็นสวนมะละกอแปลงแรกของเขา เพราะอาชีพดั่งเดิมของครอบครัวก็คือการทำอ้อยและรับโควตาซื้ออ้อยเข้าโรงงานปีหนึ่งกว่า 4-5 พันตันหรือคิดเป็นปริมาณพื้นที่ปลูกก็ร่วม 500 กว่าไร่ แต่ในช่วงปีหลังๆมานี้ธุรกิจอ้อยที่เคยเป็นรายได้หลักของครอบครัวและเป็นรายได้ที่สร้างฐานะให้กับครอบครัวกลับกลายเป็นพืชที่สร้างหนี้ก้อนโตสะสมขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งสภาวะฝนแล้ง อ้อยขาดน้ำ ผลผลิตเสียหาย ราคาอ้อยที่ตกต่ำ ขาดทุนต่อเนื่องและสะสมมาตลอดหลายปี ยิ่งทำมากยิ่งขาดทุนมาก คุณปรีชาเองเรียนจบด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และมาทำงานกับบริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ในตำแหน่ง System Engineer บริษัท แวลู เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อนหน้านี้เขาบอกว่าไม่เคยรับรู้ปัญหาของทางบ้าน แต่เมื่อได้รับรู้เขาจึงคิดโจทย์ใหญ่ที่จะมาแก้วิกฤตินี้ให้ได้ เขาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้านเกษตรจากหลายช่องทางทั้งอินเตอร์เน็ต หนังสือเกษตร(ดีใจค่ะที่ รักษ์เกษตร คือหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแหล่งข้อมูลของเขา) รวมทั้งการเดินทางไปดูสวนจริง จนในที่สุดเขาตัดสินใจเลือกมะละกอพืชที่เขามองว่าปลูกไม่ยาก ดูแลไม่มาก ช่วงวันธรรมดาก็ให้ครอบครัวดูแลได้ แต่เสาร์-อาทิตย์เขาก็กลับมาช่วยดูแลได้ อีกทั้งเป็นพืชที่มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญ กาญจนบุรีเป็นแหล่งใหญ่ของการปลูกมะละกออยู่แล้ว การหาแม่ค้ารับซื้อผลผลิตในวันเก็บเกี่ยวจึงไม่น่าจะใช่เรื่องยาก   พื้นฐานดินที่ดี สมบูรณ์ คือส่วนสำคัญของผลผลิตที่ดี หลังจากที่ตัดสินใจแล้วคุณปรีชาก็เตรียมแปลงโดยเลือกพื้นที่ใกล้บ้านจำนวน 8 ไร่ มาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ซึ่งความได้เปรียบของที่ดินแปลงนี้ก็คือ การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอจากบ่อบาดาล อยู่ใกล้บ้าน การดูแลสะดวก ที่สำคัญสภาพพื้นดินสมบูรณ์มากๆ จากการที่ที่ดินแปลงนี้เคยปลูกอ้อยมาก่อนและมีการบำรุงดินอย่างดีในช่วงที่ปลูกอ้อยซึ่งจะมีการใส่ปุ๋ยขี้ไก่อยู่ตลอดทุก 2-3 เดือน ทำให้สภาพโครงสร้างของดินที่นี่จัดว่าดีเลยทีเดียว ดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกเขาก็ยังรองพื้นขี้ไก่ไปอีกหลายร้อยกระสอบ   เทคนิคการทำให้มะละกอติดดก คุณภาพดี หลังจากเตรียมดินดีแล้ว ก็มาเตรียมต้นกล้าที่ดีพร้อมปลูก โดยเลือกซื้อเมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีเทคนิคการทำให้ต้นกล้างอกดี งอกสม่ำเสมอด้วยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน และบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 คืน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำมาเพาะในถุงดำ ต้นละ 3 เมล็ด แล้วคลุมพลาสติกดำไว้อีก 5 วัน เมื่อเปิดพลาสติกดำออกมาต้นกล้าจะงอกอย่างสวยงามเลยทีเดียว เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วันจึงนำไปปลูกลงแปลง คุณปรีชาบอกว่า มะละกอแปลงนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 ต้น ใช้ระยะปลูก 2.7×3 เมตร เมื่อต้นมะละกอออกดอกอายุ 2-3 เดือน จึงคัดเพศ เลือกต้นกระเทยไว้ ตามหลักการปลูกมะละกอทั่วไป สำหรับการใส่ปุ๋ยช่วงแรกใส่ปุ๋ยขี้ไก่รองพื้นก่อนปลูก จากนั้นก็ให้ 15-0-0 ทุก 15 วัน หลังคัดเพศ อายุประมาณ 3 เดือน เปลี่ยนมาใส่ 8-24-24 สลับกับ 14-7-35 หรือ 15-5-20 ทุก 15 วัน ปริมาณปุ๋ยที่ให้ไม่มาก 8 ไร่ ใส่เพียง 100 กก.หรือ ปุ๋ย 2 กระสอบ นั่นเพราะสภาพโครงสร้างของดินที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูก และเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างดินที่ร่วนซุยด้วยการใส่ขี้ไก่ทุก 2 เดือนต้นละ 2 กก./ครั้ง ซึ่งที่นี่ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เยอะ คุณปรีชาจะไปเหมาเล้าเลย เล้าละ 5-6 พันบาท กรอกถุงได้ประมาณ 800-900 ถุงปุ๋ย ส่วนทางใบพ่นปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 พ่นทุก 7 วันร่วมกับธาตุอาหารเสริมแคลเซียม-โบรอนที่ให้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่มีคนปลูกมะละกอคนไหนให้ปุ๋ยมากขนาดนี้อย่างแน่นอนค่ะ แต่นี่คือการลงทุนที่เกินคุ้มค่ะ ส่วนโรค-แมลงก็จะควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยแมลงก็ใช้เพียงอิมิดาคลอพริดพ่นสลับกับคาร์โบซัลแฟน หรือถ้าเจอแมลงระบาดก็จะจัดการเป็นตัวๆไป ยากันราก็ใช้แมนโคเซ็บกับคาร์เบนดาซิมยืนพื้น มีคอปเปอร์มาพ่นสลับบ้าง และถ้ามีปัญหาก็จะว่ากันไปตามการระบาด คุณปรีชาบอกว่า มะละกอเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูง ขนาดเขาให้ปุ๋ยและพ่นยาอย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับบางแปลงที่แทบไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือพ่นยาเลย มะละกอ 8 ไร่นี้ยังหมดค่าปุ๋ย ค่ายาเพียงเดือนละ 10,000-12,000 บาท รวมค่าแรงแล้วเท่ากับเก็บมะละกอเพียงรอบเดียวก็คืนทุนแล้ว แต่เดือนหนึ่งเขาเก็บมะละกอตั้ง 8-10 ครั้ง โดยต้นทุนตั้งแต่ปลูกจนถึงตอนนี้ 10 กว่าเดือนเขาลงทุนไปแค่ 1 แสนบาท แต่เก็บมะละกอขายมาแล้วกว่า 2.5 แสนบาท 120-2   ความได้เปรียบของตลาดและการขายผลผลิต ความได้เปรียบด้านตลาดของที่นี่ก็คือ กาญจนบุรีเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อยู่แล้ว ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกมะละกอกันอย่างมากมาย มีคนเก่าเลิกไปก็มีคนใหม่เข้ามาปลูกแทน เป็นเช่นนี้อยู่ตลอด จึงทำให้มะละกอที่นี่มีผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีผู้รับซื้อหรือรวบรวมในพื้นที่ยักษ์ใหญ่อย่าง นพยุทธ เจ้าพ่อมะละกอเมืองกาญจน์รับซื้อผลผลิตตลอดอยู่แล้ว คุณปรีชาจึงไม่ห่วงเรื่องตลาดตั้งแต่แรก ประกอบกับเชื่อมั่นว่า หากผลผลิตมีคุณภาพแม่ค้าคนไหนก็อยากซื้อ จึงทำให้มะละกอสวนปรีชามีแต่แม่ค้าเข้ามาซื้อผลผลิตตลอดเวลา การนำผลผลิตส่งตลาดหรือนพยุทธก็ทำเพียงเก็บผลผลิตเสร็จก็นำบรรทุกใส่รถไปยังจุดรับซื้อ ทางจุดรับซื้อจะนำไปห่อกระดาษหนังสือพิมพ์และนำส่งลูกค้าอีกที โดยที่สวนจะเก็บมะละกอทุก 3-4 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยประมาณ เดือนละ 8 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ประมาณ 3-4 ตัน หรือมากกว่านี้ โดยมะละกอแปลงนี้เริ่มปลูกเดือนมกราคม เริ่มเก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม ช่วงแรกที่เก็บเจอราคาสูงไป 2-3 รอบ ยังได้ราคา 27-30 บาท/กก.อยู่ แต่หลังจากนั้นราคามะละกอก็ขยับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25 20 15 12 10 บาท/กก. มะละกอ1 หลังจากเห็นผลตอบแทนจากมะละกอแปลงนี้คุณปรีชาก็ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 16 ไร่ ตอนนี้อายุ 3 เดือนกว่าแล้ว และกำลังเพาะเมล็ดเตรียมปลูกเพิ่มอีก 20 ไร่ ด้วยความมั่นใจว่า พืชชนิดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้ในอนาคตแม้วันนี้ราคามะละกอจะถูกกว่าทุกปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เขายังเชื่อมั่นว่ามะละกอคือพืชทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพราะมะละกอ 8 ไร่ ที่เขาปลูกลงทุนไปเพียงแสนกว่าบาท และเก็บมะละกอในช่วงที่ราคาผลผลิตไม่ดีนักแต่ในระยะ 2 เดือนกว่า มะละกอ 1,500 ต้นก็ทำรายได้ให้กับเขามากกว่า 2.5 แสนบาท ถ้าราคามะละกอดีกว่านี้เขาเชื่อว่าระยะเวลา 2 เดือนมะละกอ 8 ไร่ จะทำรายได้ให้เขาไม่ต่ำกว่า 3 แสนกว่าบาทแน่นอน และด้วยความได้เปรียบของการเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เพราะช่วงที่ไม่ได้เก็บมะละกอเขาก็ดูแลเองในครอบครัวเพียง 2-3 คน ช่วงเก็บผลผลิตก็จ้างแรงงานเพิ่มอีกเพียง 2-3 คน จึงเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น เขาบอกว่า เขาตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเดินหน้ากับมะละกอ สวนปรีชา 456 ม.5 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 087-1658993 เครดิต กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ จากคุณหนึ่ง Rakkaset Nungruethail อ้างอิงจาก :  http://www.vigotech.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539839713&Ntype=8
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save