เทคนิครากจตุรทิศ มะปรางหวาน 1 ปีมีลูก

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

มะปรางหวาน-มะยงชิด ปกติต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 3 ปี เจ้าของถึงจะได้ลิ้มรสความหวานอร่อย แต่วันนี้เกษตรกรนครนายกค้นพบเทคนิคใหม่…ปีเดียวติดผล!

นำตอต้นมะปรางป่ามาเสริมรากมะปรางหวานแบบจตุรทิศ หรือ 4 ราก

“วิธีการเสริมรากจตุรทิศให้กับต้นมะปรางหวานนี้ จะต้องเริ่มด้วยการเพาะกล้าต้นตอมะปรางป่าในถุงเพาะชำให้มีขนาดลำต้นประมาณเท่านิ้วแม่โป้ง ก่อนจะตัดกลางลำต้นนำไปทาบกิ่งมะปรางหวาน หรือมะยงชิด ที่ลำต้นมีขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป หรือเท่าแขนของคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว” นายชวลิต โสวรรณตระกุล เกษตรกรชาวสวนมะปราง ต.เขาพระ อ.เมืองนครนายก ผู้ค้นพบเทคนิคพิเศษ เผยเคล็ดลับความสำเร็จในการเสริมรากทำให้กิ่งตอนมะปรางหวานออกลูกได้ เร็วกว่าปกติ

การกรีดการทาบ วิธีการเหมือนกับทาบกิ่งผลไม้ทั่วๆไป แต่ต้องใช้สายตากะระยะให้ต้นตอที่ทาบ อยู่ในตำแหน่ง 4 ด้านของลำต้นอย่างพอดี จากนั้นจึงใช้เทปหรือพลาสติกพันโดยรอบของจุดทาบกิ่ง ถึงจะแกะถุงรากต้นตอทั้ง 4 ถุงออกไปแล้วจะใช้ถุงพลาสติกพันที่บริเวณด้านล่างของกิ่งที่ทาบ ใส่ขุยมะพร้าวผสมน้ำยาเร่งรากลงไปให้เต็มถุง หุ้มตุ้มรากต้นตอให้มิดชิด จึงพันเทปพลาสติกคลุม แต่ให้อยู่ใต้บริเวณจุดทาบกิ่งเพื่อสะดวกในการแกะดูว่าการทาบต้นตอกับกิ่งติดกันแน่นหรือยัง

“จากนี้ไปใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือนเป็นอย่างน้อย ให้สังเกตดูกิ่งมะปรางหวานที่ถูกทาบเกิดการทิ้งยอดหรือใบร่วงหมดแล้ว จากนั้นจะออกใบใหม่ที่เรียกว่า ใบเพสล หรือใบที่ไม่อ่อนไม่แก่ จึงสามารถตัดกิ่งตอนนำมาปลูกลงดินได้”

แต่ถ้ากิ่งยังไม่ทิ้งยอด หรือไม่ออกใบเพสลาด ยังไม่ควรตัดเพราะจะไม่มีใบไว้รับแสงแดดเพื่อปรุงอาหารเลี้ยงลำต้น จุดสำคัญอีกอย่าง ต้องดูว่ารากของต้นตอออกมาเต็มที่หรือยัง โดยการรดน้ำตุ้มรากหาก  1–2 วันน้ำแห้งไว นั่นหมายความว่า รากมีประสิทธิภาพในการดูดน้ำแล้ว จึงนำไปปลูกลงดินได้

จากการทดลอง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าต้นกิ่งพันธุ์มะปรางที่ทาบรากจตุรทิศ เป็นการเพิ่มช่องทาง หรือเพิ่มปากดูด อาหารให้กับลำต้นได้ดี เพียงตัดกิ่งตอนนำลงไปปลูกแค่ปีเดียวมะปรางหวานก็ให้ลูกได้แล้ว ซึ่งเร็วกว่าการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเดิมๆ…แน่นอนว่า สนนราคากิ่งพันธุ์จะสูงกว่า แต่เมื่อคิดคำนวณระยะเวลาการปลูก ค่าปุ๋ย ค่าดูแลรักษาที่เสียไป ถือว่าคุ้มค่ากว่า

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/412284

[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%88%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%a8-%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%87/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save