ฮอร์โมนพืช (Plant hormones)

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ( plant growth regulators) เป็นสารอินทรีย์ที่ครอบคลุมทั้ง ฮอร์โมนพืช (plant hormones) และสารสังเคราะห์ที่มีผลคล้ายฮอร์โมนพืช สารดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพืช ซึ่งอาจทำได้ทั้งด้วยการกระตุ้น ยับยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงการ เจริญเติบโต โดยเมื่อใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย หรือ ที่ความเข้มข้นต่ำมาก ๆ เช่น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ก็ สามารถแสดงผลต่อพืชได้ ปกติแล้ว ฮอร์โมนพืช คือ สารที่พืชสามารถสร้างขึ้นเองได้ตามธรรมชาติที่อวัยวะหรือเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งในปริมาณเพียงเล็กน้อยและลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมายเพื่อส่งสัญญาณซึ่งมีผลควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของพืช ฮอร์โมนพืชกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ออกซิน ( auxins) ไซโทไคนิน (cytokinins) จิบเบอเรลลิน ( gibberellins) เอทิลีน ( ethylene) และ กรดแอบไซซิก ( abscisic acid) จะมีบทบาทควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในระยะต่างๆนับตั้งแต่การงอกของเมล็ด การเจริญเติบโต จนกระทั่งพืชนั้น ๆ เข้าสู่ภาวะเสื่อม และตายลงในที่สุด สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 5 กลุ่มที่ได้กล่าวไปแล้วมีทั้งสารที่พืชสร้างได้เองและสารสังเคราะห์ แต่ยังมีสารควบคุมการเจริญเติบโตอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ สารชะละการเจริญเติบโตพืช (plant growth retardants) เป็นสารกลุ่มที่พืชไม่สร้าง แต่เป็นสารสังเคราะห์ที่มีผลชะลอการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของพืชได้เช่นเดียวกับสารควบคุมการเจริญเติบโต หน้าที่ของฮอร์โมนพืชแต่ละชนิด 1. ออกซิน ( auxins): แต่เดิมหมายถึงสารอินโดลทรีอะซิติกแอซิด ( indole-3-acetic acid หรือ IAA) ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชชนิดแรกที่พบ ส่วนใหญ่สร้างที่ยอด ใบอ่อน พบได้ที่ผลอ่อนและเมล็ดที่กำลังเจริญเติบโตด้วย มีผลกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ลำต้น การเกิดรากของกิ่งตัด การเจริญเติบโตของผล ควบคุมการเคลือนไหวของพืชต่อการตอบสนองต่อแสง แรงโน้มถ่วงของโลก ทำงานสัมพันธ์กับไซโทไคนินในการส่งเสริมการเจริญของตายอดและยับยั้งการเจริญของตาข้าง ปัจจุบัน พบสารในพืชและสารสังเคราะห์อีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางชีววิทยาคล้ายออกซิน จึงจัดสารเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มออกซินด้วย 2. ไซโทไคนิน (cytokinins): สารอินทรีย์ที่เป็นฮอร์โมนพืช เช่น ซีเอทิน ( zeatin) ส่วนใหญ่สร้างที่รากแล้วลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืชในเอมบริโอ และใบอ่อนก็พบว่าสร้างได้เช่นกัน มีผลกระตุ้นการแบ่งเซลล์ และทำงานร่วมกับออกซินในการควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้าง และ ควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อให้เจริญเป็นยอด 3. จิบเบอเรลลิน (gibberellins): กลุ่มของสารที่เป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างที่ปลายยอด ใบอ่อนและราก รวมทั้งในเมล็ด มีผลส่งเสริมการยืดตัวของลำต้น กิ่ง ก้าน กระตุ้นการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของผล และควบคุมการเกิดเพศของดอกในพืชบางชนิด 4. เอทิลีน (ethylene): เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวกับแก๊ส สร้างโดยเนื้อเยื้อส่วนต่าง ๆ ทั่วไปแต่จะสร้างมากเมื่อพืชได้รับบาดแผล พืชเข้าสู่ภาวะเสื่อม และผลไม้ที่กำลังสุก มีผลเร่งภาวะเสื่อม การร่วงโรย และกระตุ้นการออกดอกในพืชวงศ์สับปะรด เอทิลีน 5. กรดแอบไซซิก (abscisic acid): เป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างได้ในเกือบทุกส่วนของพืช มีผลยับยั้งการเจริญเติบโต โดยมักทำงานให้ผลตรงข้ามกับฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตอื่น ๆ หน้าที่หลัก ได้แก่ การทำให้เมล็ดพักตัวไม่งอก ทำให้ปากใบปิดเมื่อพืชอยู่ในภาวะเครียดจากการขาดน้ำ ช่วยให้พืชทนแล้ง 6. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth retardants): สารอินทรีย์ที่เมื่อใช้ในปริมาณน้อยหรือความเข้มข้นต่ำมาก ๆ มีผลชะลอแต่ไม่ถึงกับยับยั้งการแบ่งเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ ส่งผลต่อการเติบโตด้านความสูงของพืชโดยไม่ทำให้การเจริญ เติบโตของใบและส่วนอื่นๆของลำต้นผิดปกติไป แต่มักพบว่าพืชมีใบสีเขียวเข้มขึ้น สะสมอาหารมากขึ้นและมีผลกระทบต่อการออกดอกโดยอ้อม แต่ไม่มีผลต่อขนาดของดอก สารกลุ่มนี้จัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชด้วยแต่เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด แหล่งข้อมูล: คู่มือการสอนวิชาชีววิทยาโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (http://www.phukhieo.ac.th)  
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b8%ae%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a-plant-hormones/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save