Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.
วิธีปลูกผักชีลาว ผักทำเงินที่น่าสนใจ รู้ไว้ได้ทางเลือกมากกว่า
ผักชีลาว เป็นผักสวนครัวที่มีความนิยมมากในประเทศไทยอีกชนิด เนื่องจากว่ามีประโยชน์หลายอย่าง ทานสดๆหรือจะนำไปประกอบอาหารเช่น แกงอ่อม หรืออาหารคาวอื่น ๆ เพราะดับกลิ่นได้ดี รวมถึงมีประโยชน์ทางยาด้วย
สำหรับใครที่สนใจอยากจะปลูกได้ทานเองหรือปลูกผักชีลาวขาย เป็นทั้งอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก หรือจะปลูกเป็นพืชผักผสมในแปลงเพาะปลูกที่มีอยู่ก็น่าจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางรายได้ให้มากขึ้น ดูวิธีการปลูกผักชีลาวเชิงการค้ากันเลย…
วิธีการปลูกผักชีลาว
การเตรียมดิน สภาพดินที่มีความเหมาะสมสมควรเป็นดินร่วน หรือดิน ร่วนปนทราย ก่อนปลูกควรทำการพรวนดินตากให้แห้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืชที่อยู่ในดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 วัน หลังจากนั้นนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ที่สลายตัวดีแล้วมาใส่คลุกเคล้า ให้เข้ากับดิน หากทำแปลงดินขนาดกว้าง 1 – 1.2 เมตร ยาว 3 -4 เมตร ให้ใส่ปุ๋ย ประมาณ 30 – 40 เมตร ยาว 3 -4 เมตร ให้ใส่ปุ๋ย ประมาณ 30 – 40 กิโลกรัม ทั้งนี้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ของดิน ถ้าพบว่าดินมีสภาพ ความเป็นกรด ควรนำปูนขาว มาคลุกกับดิน เพื่อปรับสภาพ ของดินที่เหมาะในการเพาะปลูก
วิธีปลูก เริ่มจากการเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ด โดยนำเมล็ดพันธุ์บดให้แตกเป็นสองซีก แช่น้ำเปล่า นาน 2-3 ชั่วโมง นำมาคลุกเคล้าทรายละเอียดผสมเถ้าเล็กน้อย ทิ้งไว้จนกระทั่งรากเริ่มงอกประมาณ 1-2 วัน ก่อนนำมาหว่านให้ทั่วแปลง หรือ จัดระยะปลูก 15 x 15 เซนติเมตร อาจใช้อุปกรณ์ เสริมเป็นไม้ตีเส้นตาราง ใช้นิ้วกดดินให้เป็นรู นำเมล็ดพันธุ์หยอดใส่ 2 – 3 เมล็ดต่อหลุมกลบดินทับ และรดน้ำตาม
การเลือกช่วงฤดูกาลปลูกผักชีลาว ควรอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ซึ่งข้อแตกต่างของแปลงที่ปลูกระหว่างช่วงฤดูแล้งกับช่วงฤดูฝน คือ ในช่วงฤดูแล้ง ลักษณะแปลงปลูกสามารถทำเป็นหลุม หรือ ทำแปลงดินขอบเสมอได้ ส่วนในช่วงฤดูฝน แปลงควรมีลักษณะ นูนสูงประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร หรือ ปลูกในพื้นที่พ้นจากน้ำเพื่อป้องกันน้ำขัง (ควรคลุมซาแรนป้องกันน้ำฝนในช่วงนี้ด้วย) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผักชีลาว คือ ต้องมีความชื้นพอดี หากมีความชื้นมากเกินไปจะทำให้ใบเหลืองแห้ง และไม่สวยงามควรปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง และมีแสงแดด ไม่ควรปลูกอยู่ในร่มเงาไม้ ส่วนในช่วงฤดูแล้งที่มีแสงแดดจัด อาจจะต้องทำการป้องกันบ้างเล็กน้อย เช่น คลุมด้วยซาแลนช่วยพรางแสงแดด ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์
วิธีการดูแลรักษา ผักชีลาว
การให้น้ำ หลังจากปลูกได้ประมาณ 7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก จนเมื่ออายุ ได้ 14 วัน จะมีลำต้นสูงประมาณ 10 – 1 5 เซนติเมตร มีใบ ออกมา 2 ใบ ให้รดน้ำจนชุ่ม ทุกวัน เช้า – เย็น อย่ารดจนแฉะ
การใส่ปุ๋ย เมื่อพืชอายุได้ 14 วัน ระหว่างให้น้ำให้ผสมน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มเติมใส่ร่วมด้วยก็ได้ สำหรับการใส่ปุ๋ยคอก ให้ใช้เป็นมูลหมูแห้งโรยบริเวณ ชั้นบนแปลงปลูกบางๆ จนทั่วเดือนละ 1 – 2 ครั้ง
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ให้หมั่นดูแลกำจัดวัชพืชอยู่ตลอด ด้านศัตรูพืชแทบไม่มีเลย ยกเว้นการปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นในแปลงเดียวกัน
วิธีการเก็บเกี่ยว
เมื่อต้นผักชีลาวมีอายุประมาณ 40 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ โดยเลือกถอนต้นที่สมบูรณ์ มีความยาวระหว่าง 20 – 30 เซนติเมตร สามารถทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต ไปได้นาน 2 – 3 เดือน ในระหว่างทำการถอนต้นออกไปเรื่อยๆนั้นควรเหลือต้นที่สมบูรณ์อยู่ในแปลงไว้บ้าง เพื่อให้ต้นเหล่านี้ออกดอก สำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในครั้งต่อไป แต่ถ้าหากไม่ต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ก็สามารถถอนนำไปจำหน่ายได้หมดเลย
ผักชีลาว สรรพคุณ ประโยชน์ต่างๆ
ผักชีลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolen L. จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี มีกลิ่นฉุน ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็กลักษณะใบเป็นใบประกอบคล้ายขนนก มีสีเขียว สดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอก มีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้าต้องการนำไปใช้เป็นเครื่องเทศ สามารถเก็บได้เมื่อดกเริ่มเปลื่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่ นิยมรับประทานใบสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บเกี่ยวก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมี 2 ชนิดคือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชีย เขตร้อน(Indian Dill) ในประเทศไทย มีอายุเก็บกี่ยวประมาณ 60 วัน
น้ำมันผักชีลาว (Dill seed oil) ได้จากการนำผลแก่แห้งไปกลั่นด้วยไอน้ำ สารสำคัญที่พบคือ คารืโวน ดี-ไลโมนีน และอัลฟ่า-เฟลเลนดรีน สารอื่นที่มีปริมาณรองลงมาคือ ไดไฮโดรคาร์โวน ยูจีนอล ไพนีน และอะนีโทล เป็นต้น
สรรพคุณทางยา นำผลแก่แห้งของผักชีลาวบดให้เป็นผง ชงกับน้ำดื่มวันละ 4-5 แก้ว แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมหรือใช้ต้นสดของผักชีลาวผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน ส่วนน้ำมันมักใช้ผสมในยาย่อยอาหาร ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ประโยชน์ทางอาหาร :ใบสดและใบแห้งใช้โรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ใบใส่แกงอ่อมแกงหน่อไม้ห่อหมกแกล้มแกงเนื้อน้ำพริกปลาร้าผักใส่ไข่ยอดใบรับประทานกับลาบเมล็ด และใบช่วยชูรสเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมล็ดแห้งที่แก่เต็มที่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราวและขับลมในท้อง เมล็ดก่อนนำมาประกอบอาหารควรบดก่อน โดยนิยมโรยบนสลัดผักและมันฝรั่งบดเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้น้ำมันผักชีลาวยังใช้แต่งกลิ่นผักดอง น้ำซอส สตู ขนมหวาน เครื่องดื่มและเหล้า
ผักชีลาวเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้
ฝากข้อคิดมุมมองของ ผักชีลาว เชิงการค้า
เมื่อผักชีลาวมีประโยชน์หลายด้านแบบนี้แล้ว แสดงว่าโอกาสของการปลูกผักชีลาวขายก็ยังมี สำหรับใครที่สนใจอยากจะเริ่มทดลองปลูก ก็ลองทำตมวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อแน่ว่าเมื่อปลูกจนเกิดความชำนาญ ผลิตได้มีคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น การหาตลาดคงทำได้ไม่ยากและบางครั้งตลาดอาจจะวิ่งมาหาเองด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าสามารถพัฒนาการหีบห่อที่ดีมีคุณภาพ หรือผลิตแบบปลอดสารได้ด้วยแล้ว ตลาดยิ่งจะกว้างมากขึ้น โอกาสก็มากขึ้น ดังนั้นแล้วผักชีลาว จึงเป็นพืชผักทำเงินอีกชนิดที่น่าสนใจมาก
แหล่งที่มา: http://www.bangkoktoday.net/dill/