Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.
ในบรรดาพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
“ชะอม” เป็นพืชผักที่มีอายุยืนยาวกว่าชนิดอื่น และเก็บกินได้ตลอด เกษตรกรนิยมปลูกไว้เป็นไม้ริมรั้ว เนื่องจากลำต้นกิ่งก้านมีหนาม ที่สำคัญชะอมเป็นพืชกินยอดที่อยู่คู่กับครัวไทย วิถีไทยมาช้านาน และมีตลอดฤดูกาล กินได้ไม่รู้จักเบื่อเรียกได้ว่า ต้มยำทำแกงได้ครบ ชะอมจึงกลายเป็นพืชไร่อีกชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างสม่ำเสมอ ยามว่างจากไร่นา“ชะอม” พืชผักไทย ๆ ที่มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Acacia Pennata (L.) wild ชื่อสามัญ Climbinq Wattle หรือ Acacia หรือเรียกทับศัพท์ว่า “eha-om” ชะอมเป็นพืชในตระกูลอะคาเซีย จัดเป็นพืชกินยอดอ่อนนิยมรับประทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้น ยอดอ่อนนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารได้ เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ชุบไข่ทอดจิ้มน้ำพริก ชุบไข่ทอดแล้วนำไปแกงส้ม หรือเป็นส่วนประกอบของแกงบางชนิด เช่น แกงเห็ดเถาะ แกงแค แกอ่อม และเป็นผักแนมกับตำมะม่วง ตำส้มโอ เป็นต้น นอกจากนี้ชะอมยังเป็นพืชสมุนไพร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ชะอมมีสารต้านอนุมูลอิสระ เพราะมีวิตามินเอสูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กอยู่มากเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีวิตามิน บี 1,2,3 และวิตามินซีอีกจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ชะอมจึงมีคุณสมบัติเป็นทั้งอาหารและพืชสมุนไพรบำรุงร่างกาย ข้อเสียของชะอมมีอยู่เช่นกันคือ เป็นพืชที่มีกรดยูริคสูง ทำให้เกิดการอักเสบข้อกระดูกสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไปเกินไปรู้จักชะอมกันมาพอสมควรแล้ว หันมาดูกันว่า ชะอมพืชผักประจำครัวไทยเขามีวิธีการปลูกอย่างไร และจะทำให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรอย่างไร
การปลูกชะอมโดยทั่วไป นิยมการปักชำ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และโน้มกิ่งลงดิน การเพาะเมล็ดเริ่มจาก นำดินผสมทั่วไปใส่ถุงพลาสติก นำเมล็ดชะอมลงใส่ในดินลึกราว 1 นิ้ว รดน้ำพอชุ่มชื้นวันละครั้ง เมื่อเมล็ดได้ลำตันขนาด 6-7 นิ้ว นำต้นลงปลูกในแปลงดินที่ยกร่องไว้ บางรายอาจไม่ต้องยกร่อง เพียงแต่ลงหลุมแล้วกลบให้ช่วงห่างของต้น 1 เมตร ทิ้งแนวตามยาวและแนวขวาง ดังนั้น 1 ตารางเมตร จะได้ต้นชะอม 4 ต้น จะทำให้พื้นที่ 1 ไร่จะปลูกชะอมได้ 1,600 ต้น เมื่อลงปลูกในแปลงแล้ว ลงปุ๋ยคอกบำรุงโคนต้นไม่ต้องมาก รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ถ้าเป็นฤดูร้อนรดน้ำวันละ 2 ครั้ง อย่าให้น้ำขังโคนต้นจะทำให้รากเน่า เพื่อความปลอดภัยให้ยกร่อง เพื่อป้องกันน้ำขังโคนต้น ชะอมปกติจะไม่ค่อยมีโรคพืช จะมีก็เพียงแต่หนอนเขียวกินยอด หรือเพลี้ยแดงดูดน้ำเลี้ยงยอดอ่อน ถ้ามีหนอนมีเพลี้ยให้ใช้สารเคมีอย่างอ่อนผสมน้ำเจือจางฉีดพ่น ทั้งหนอนกินยอดและเพลี้ยจะหนี หรือถ้าจะใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำ ความเข้มข้นปานกลางฉีดพ่นเพื่อเป็นการป้องกัน การใช้น้ำชีวภาพต้องใช้บ่อย ๆ จะได้ผลดีและไม่มีสารตกค้าง ส่วนการใช้สารเคมีต้องดูระยะเวลาฉีดพ่นแล้วจึงเก็บเมื่อนำต้นลงแปลงแล้วเลี้ยงต่อไปราว 3 เดือน ต้นอ่อนจะเติบโตให้ยอดอ่อนเก็บไปรับประทานหรือออกตลาดได้ ระหว่างที่ต้นกำลังเติบโตช่วงอายุ 1 เดือนแรกให้ริดยอดทิ้งบางส่วน เพื่อให้ชะอมแตกยอดขึ้นอีก เลี้ยงต่อจนยอดอ่อนแข็งแรงแล้วริดยอดต่อไปอีก เป็นแบบนี้ทุก ๆ 1 สัปดาห์ จะได้ชะอมมีลำต้นเป็นพุ่ม มียอดอ่อนเพิ่มขึ้นมากจนอายุต้นราว 80-90 วัน ยอดชะอมรุ่นแรกนำเก็บออกจำหน่ายได้ การปลูกชะอมเพื่อใช้กินในครัวเรือนก็เช่นกัน ส่วนเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกชะอมในพื้นที่รอบไร่นา หรือพื้นที่ว่างในสวนผลไม้ ก็ทำได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่าจะมีจำนวนเท่าใด
คุณเพ็ญ รุจิรัตน์ อายุ 48 ปี เกษตรกรปลูกชะอม พื้นที่ตำบลท้ายตลาด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เล่าประสบการณ์การปลูกชะอมอย่างมืออาชีพให้ฟังว่า แต่เดิมทำงานในบริษัทนำเข้า-ส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค บางประอิน ทำมานานกว่า 20 ปี จนสุดเพดานเงินเดือน จึงออกจากงานมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านภรรยาที่เป็นชาวเมืองลพบุรี มีพื้นที่เกษตรกรรมของตนเองประมาณ 4 ไร่เศษ หลังจากออกจากงานก็คิดว่าต้องกลับมาสู้วงจรชีวิตด้านการเกษตร เพราะมีที่ทางเป็นของตัวเอง ส่วนจะทำนาข้าวก็คงยังชีพไม่ได้ เพราะพื้นที่ไม่มากพอ ผลได้ไม่คุ้มต้นทุน จึงคิดปลูกพืชไร่หรือพืชผักสวนครัว ขณะเดียวกันญาติพี่น้องข้างภรรยา แนะนำให้ปลูกชะอมเพราะญาติ ๆ ทำกันอยู่ก่อน และพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้ เมื่อพิจารณาแล้วคุณเพ็ญจึงตัดสินใจปลูกชะอมในพื้นที่ของครอบครัว
เริ่มจากปรับปรุงพื้นที่จากเดิมที่เป็นนา จัดการไถพรวนและยกร่องเป็นแปลง โรยปุ๋ยคอกจำพวกมูลสัตว์ ไถกลบอีกรอบ รดน้ำให้ชุ่มจากนั้นลงกิ่งตอนขนาดสูง 40 เซนติเมตรห่างกัน 1 เมตร การปลูกควรเป็นช่วงฤดูร้อน เพราะชะอมจะแตกยอดเติบโตได้ดี แต่ต้องหมั่นรดน้ำ ขณะเดียวกันก็อย่าให้น้ำขังจะทำให้รากเน่า พอเข้าฤดูฝนชะอมจะแตกยอดได้ดีจนครบ 70-80 วัน เก็บยอดขายได้ระหว่างที่ชะอมเติบโตให้ริดยอดบางส่วนทิ้ง เพื่อให้ยอดแตกเป็นพุ่มขึ้นอีก ชะอมเป็นพืชที่แตกยอดเร็วเมื่อเก็บยอดแล้วจะแตกยอดใหม่อีก 4 วัน ให้สลับกันเก็บยอด ใน 1 ต้นไปเรื่อยๆ ส่วนการดูแลรักษาต้องหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนต้องให้มากหน่อย แม้ว่าชะอมจะเติบโตดีในฤดูร้อนแต่ก็จำเป็นต้องให้น้ำตลอด เพราะถ้าขาดน้ำยอดอ่อนจะโตไม่เต็มที่มีน้ำหนักเบา จะใช้ปุ๋ย 27-0-0 เสริมเดือนละครั้ง โดยโรยห่างๆ รอบโคนต้นก็ได้ ช่วยให้ใบงอกงามขึ้นส่วนช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่ยอดอ่อนออกมากและมีน้ำหนักดี ราคาส่งก็ดีพอสมควร ฤดูร้อนยอดอ่อนชะอมก็ออกมากเช่นกัน แต่น้ำหนักไม่ดี ราคาส่งก็ลดลงด้วย ในฤดูร้อนยอดชะอมราคาส่งขนาด 200 กรัมต่อ 1 กรัม ราคา 5-6 บาท ขณะเดียวกันก็ต้องตัดยอดมากกว่าปกติ เพราะน้ำหนักชะอมจะเบา ส่วนฤดูฝนยอดอวบสมบูรณ์ราคา 1 กำ 7-8 บาท น้ำหนักดีถึงช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่ชะอมพักต้น การเจริญเติบโตเป็นวัฏจักรวงจรชีวิตของชะอม ฤดูหนาวนี้เองชะอมให้ยอดน้อยกว่าปกติมาก ตลาดจึงขาดแคลน ราคาขายส่ง 1 กำเคยได้ถึง 12-13 บาท หรือ 60-65 บาท/กิโลกรัม ที่ไร่ของคุณเพ็ญเก็บขายทุกวัน โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทีละแลง หมุนเวียนกันจนครบ 7 วัน วัน ๆ หนึ่งคุณเพ็ญเก็บขายได้ราว 100 กำ คิดเป็นน้ำหนักราว 20 กิโลกรัม ดังนั้นในฤดูร้อนราคาตกลงมาหน่อย เหลือกำละ 5 บาท วันหนึ่งจึงมีรายได้อย่างน้อย 500 บาท ถ้าเป็นช่วงฤดูฝน รายได้จะขึ้นเป็นวันละ 700-800 บาท และถ้าหากเป็นช่วงฤดูหนาว อาจถึงวันละ 1,200-1,300 บาท
คุณเพ็ญแบ่งแปลงปลูก และเก็บในพื้นที่ 4 ไร่ได้ตลอด ส่วนจะเก็บมากน้อยแค่ไหนแล้วแต่ความขยันของตน เพราะทำทุกวันก็เหนื่อย ต้องดูแลทั้งให้น้ำ ตัดเก็บ และมัดเป็นกำ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคุณเพ็ญทำสองคนกับภรรยา แต่ถ้าจะเก็บกันจริง ๆ วัน ๆ หนึ่งอาจเก็บได้ถึง 150 กำ คิดเป็นน้ำหนัก 30 กิโลกรัม แต่ถ้าเก็บจำนวนขนานนี้ก็ทำไม่ได้ เพราะขาดแรงงาน เอาเป็นว่าเก็บขายแบบพอกินพอใช้สมควรกับการครองชีพส่วนการบริหารจัดการไม่มีอะไรมาก เกษตรกรดูแลตันและยอดให้สมบูรณ์ กรณีที่จะปลูกชะอมเป็นรายได้เสริมจากการว่างงานไร่นา เกษตรกรจะต้องแบ่งพื้นที่เป็นแปลง ขึ้นอยู่กับว่า เกษตรกรจะต้องการเก็บขายปริมาณเท่าไหร่ในรอบสัปดาห์จะเก็บกี่ครั้ง สมมุติว่าถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ 1 ไร่ แบ่งเป็น 7 แปลง แปลงละ 57 ตารางวาเศษ แบ่งเก็บผลผลิตชะอมวันละแปลงได้ครบ 7 วัน สลับกันไปในแต่ละวัน พื้นที่ 57 ตารางเมตร ถ้าดูแลรักษาต้นให้สมบูรณ์ อาจได้ผลผลิตถึงวันละ 5 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยทั้งปีตกกิโลกรัมละ 35-40 บาท ดังนั้นพื้นที่ 57 ตารางเมตร อาจมีรายได้จากชะอมวันละ 175-200 บาท ครบ 7 วันจะมีรายได้ราว 1,225-1,400 บาท หรือเดือนละประมาณ 4,900-7,000 บาท ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าเกษตรกรใช้เวลาดูแลชะอมหลังจากงานไร่งานนา โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้านหรือไร่นา แล้วจัดทำเป็นแปลงตามขนาดที่ต้องการ ส่วนผลตอบแทนที่ยกตัวอย่างคิดต่อพื้นที่ และราคาตลาดชะอม ณ ปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558)
เกษตรกรหากต้องการเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชหลัก ทั้งนาข้าว พืชสวน หรือแม้แต่พืชไร่บางตัว ชะอมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ให้เกษตรกรเลือกใช้เวลาว่างจากพืชสวนไร่นา เนื่องจากชะอมเป็นพืชที่ผักสวนครัวที่เก็บกิน เก็บขายได้ตลอดปี เพราะชะอมเป็นพืชอาหารที่ครองใจคนไทยมาตลอด ที่สำคัญระดับราคาก็อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ท่านใดที่มีพื้นที่ว่าง และอยากมีรายได้เสริม “ชะอม” นี่ล่ะจะเป็นคำตอบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเพ็ญ รุจิรัตน์ เลขที่ 1 หมู่ 2 ตำบลท้ายตลาด อ.เมือง จ. ลพบุรี
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/940960442608216