Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.
>> ตารางธาตุอาหารต่อพืชที่มีในมูลสัตว์แต่ละชนิด เพื่อการเลือกใช้กับพืชที่เราปลูก
ปุ๋ยมูลสัตว์ |
ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมด (%) |
ไนโตรเจน (N) |
ฟอสฟอรัส (P) |
โพแทสเซียม (K) |
มูลสุกร |
2.69 |
3.24 |
1.12 |
มูลไก่ไข่ |
2.59 |
1.96 |
2.29 |
มูลโคเนื้อ |
1.36 |
0.51 |
1.71 |
มูลโคนม |
1.27 |
0.48 |
1.42 |
มูลแพะ |
1.03 |
0.66 |
0.64 |
มูลแกะ |
0.94 |
0.54 |
1.07 |
มูลเป็ด |
1.2 |
2.2 |
0.8 |
มูลค้างคาว |
6 |
10 |
1.2 |
สำหรับหน้าที่ของธาตุแต่ละตัว
ไนโตรเจน (N): ทำหน้าที่บำรุง ใบ ลำต้น ยอดอ่อน เพื่อการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์แบบ อย่าง ไม้ใบ ผักใบเขียว
ฟอสฟอรัส (P): บำรุง ดอก ผล เมล็ด ตั้งแต่ สีสัน ผลสุกหวาน เมล็ดพันธุ์สมบูรณ์ อย่าง ไม้ผล ไม้ดอก
โพรแตสเซียม (K): บำรุง ระบบราก หัว อย่าง มันสำปะหลัง ระบบรากของพืช
มูลค้างคาว : จากข้อมูล แทบจะร้องโอ้โหเลยสำหรับมูลค้างคาว ทำไมมันสูงปี๊ดแบบนี้ ทั้ง N ทั้ง P แบบนี้ก็สบายไม้ดอกชอบแน่ แถมไม้ใบอีกอย่าง ตัวเลขที่ได้ไม่แน่ใจว่าวัดจาก ค้างคาวกินพืช หรือกินแมลง แต่การนำมาใช้คงจะลำบากเนื่องจากราคาแพงและหายาก
มูลสุกร : ราคาถูกหน่อย และมีการแนะนำให้ใช้กันอย่างแพร่หลายนะสำหรับ นาข้าว สวนผัก พืชไร่อย่างมันสัมปะหลัง ก็เพราะกลิ่นที่แรงพอตัวนั่นเอง จึงไม่เหมาะจะใช้ใกล้ชุมชน
มูลไก่ : อันนี้ก็น่าใช้มากเนื่องจาก ราคาไม่สูงมากนัก แต่ต้องใกล้แหล่ง เช่นฟาร์มเลี้ยง
มูลแพะ แกะ เป็ด : อันนี้ก็ยังมีกลิ่น แถมหายาก ดังนั้นตัวเลือกที่มีใช้กันและนิยมใช้กันมากเลยก็คือ
มูลวัว ทั้งเนื้อและนม มีให้เราเลือกใช้ได้ใกล้มือ ราคาก็ไม่แพงมาก ทั้งปลีก ทั้งส่ง ถึงแม้ปริมาณธาตุอาหารจะน้อยหน่อย ก็ถือว่าพอรับได้
แต่การจะใช้มูลวัว ควรจะเลือกที่เก่าๆ เพื่อลดความเป็นกรด หรือจะเจือจางน้ำเปล่าซักสองรอบก่อนนำมาใช้ก็ได้ แต่ปริมาณธาตุอาหารก็จะลดลงไปตามด้วย อาจจะเหลือซัก 0.3 % แต่พืชก็ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี
หรือจะเอามาให้ไส้เดือนกิน แล้วนำเอามูลไส้เดือนมาใช้ก็ได้ แม้จะได้สารอาหารครบ และน้อย แต่ก็จะได้จุลินทรีย์แถมไปด้วย ช่วยกันปรับสภาพดิน บำรุงต้นพืช หลายร้อยชนิด บางตำราบอก 200 กว่า บางตำราว่า 400 กว่า เราเป็นผู้ใช้จำแค่ว่ามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ก็พอ เรียนรู้ที่จะใช้อย่างฉลาดและคุ้มค่าดีกว่าเนอะ
แหล่งที่มา: https://kasetdd.wordpress.com/2010/02/20/kasetdd-table/