ต้นอ่อนทานตะวัน

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

โดย: ศิริวรรณ ทิพรักษ์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ในปัจจุบันกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งต้นอ่อนของพืชผักชนิดต่างๆ ก็จัดเป็นหนึ่งในผักสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม มีงานวิจัยพบว่า การบริโภคต้นอ่อนหรือเมล็ดพืชงอกนั้น ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าเมล็ดพืชที่ไม่งอก

1. เลือกเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่เป็นเมล็ดมีชีวิต กล่าวคือ เป็นเมล็ดที่ใช้ปลูก ไม่ใช่เมล็ดเพื่อการบริโภคควรเป็นเมล็ดที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆมีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 1 ปี ปราศจากโรคและเชื้อรา เมล็ดทานตะวันที่เห็นกันทั่วไปตามท้องตลาดในปัจจุบันประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ เมล็ดลาย เมล็ดดำ และเมล็ดโต ซึ่งสามารถใช้เพาะเป็นต้นอ่อนได้ดีทุกลักษณะ

2. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วให้คัดแยกเศษสิ่งเจือปนต่างๆ รวมทั้งเมล็ดที่มีเชื้อราออก เพื่อลดโรคที่จะเกิดขึ้นกับต้นอ่อนทานตะวัน จากนั้นล้างเมล็ดด้วยน้ำสะอาด

3. แช่เมล็ดพันธุ์ทานตะวันในน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 40-50 องศาเซลเซียส หากไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ให้ใช้วิธีผสมน้ำร้อน 1 ส่วน กับน้ำเย็น 2 ส่วน แช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

4. เมื่อครบกำหนดเวลาให้เทน้ำออก ขั้นตอนนี้จะพบว่าเมล็ดทานตะวันส่วนหนึ่งเริ่มมีรากโผล่พ้นเมล็ดแล้ว จากนั้นห่อเมล็ดด้วยผ้าสะอาดที่ชุ่มน้ำ วางในที่ร่มเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดทานตะวันทุกเมล็ดมีรากงอกออกมาสม่ำเสมอกัน

5. โรยเมล็ดทานตะวันที่งอกนี้ลงบนวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ อาจใช้แกลบดำ ขุยมะพร้าว หรือดินผสมที่ซื้อตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป การโรยเมล็ดไม่ควรให้เมล็ดซ้อนทับกัน

6. จากนั้นโรยวัสดุเพาะบางๆ อีกชั้นหนึ่ง เพื่อกลบเมล็ด แล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะเกินไป

7. การเพาะต้นอ่อนในช่วง 3 วันแรกควรให้ต้นอ่อนอยู่ในที่ร่ม มีแสงรำไร และให้ได้รับแสงแดดหลังวันที่ 4 ของการเพาะ เพื่อให้ต้นอ่อนมีสีเขียวสวยงาม แต่ระวังอย่าให้โดนแดดจัดมาก

8. การให้น้ำควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละครั้งต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไปรดแค่ให้พอมีความชื้นก็พอ

9. การเก็บเกี่ยวต้นอ่อนทานตะวัน ทำได้โดยใช้กรรไกรสะอาดตัดโคนต้นอ่อนเมื่อต้นอ่อนมีอายุ 5-15 วัน หรือเมื่อต้นอ่อนมีความสูงประมาณ 8-14 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ อุณหภูมิและสภาพแวดล้อม หากอุณหภูมิสูงจะสามารถตัดต้นอ่อนทานตะวันได้เร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ โดยระยะเก็บเกี่ยวต้นอ่อนทานตะวันที่ดีควรเก็บเมื่อต้นอ่อนมีใบเพียง 2 ใบ อย่าทิ้งไว้จนมีใบที่ 3-4 จะทำให้ต้นอ่อนมีรสขมเสียรสชาติได้

อ้างอิงจาก: หนังสือ เกษตรอภิรมย์  ปีที่ 1 ฉบับที่ 16  กรกฎาคม-สิงหาคม 2558

[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save