เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

อาชีพหลักของคนไทย 80% คืออาชีพทำการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ สุดของการทำการเกษตร แต่เนื่องจากว่าเกษตรกรได้ปลูกข้าวมานาน การปรับปรุงบำรุงดินให้คืนสภาพเดิมมีน้อยมากนั่นคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การเผาตอซังหรือการเผานายิ่งทำให้เกิดผลเสียกับดินมากกว่าผลดีที่จะได้รับ เพราะเป็นการเผาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และยังเผาทำลายสัตว์เล็กๆในดิน ดินที่ถูกเผาก็จะแห้ง,แข็ง ดินจะตายปลูกพืชๆก็จะไม่เติบโต พืชแคระแกรนการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และถ้ามีการใช้อย่างต่อเนื่องดินก็จะเสียเช่นกัน การตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตของข้าวก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ เพราะใบข้าวที่ถูกตัดออกก็จะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการตัดใบข้าว 1.ถ้าทำนาในช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ทำการตัดใบข้าว 3 ครั้งดังนี้ 1.1 ตัดครั้งที่ 1 ต้นเดือนกรกฎาคม 1.2 ตัดครั้งที่ 2 ต้นเดือนสิงหาคม 1.3 ตัดครั้งที่ 3 ต้นเดือนกันยายน (ไม่ควรเกินวันที่ 5 กันยายน จะเป็นการเสี่ยงเกินไปเพราะช่วงเวลาดังกล่าวข้าวจะออกใบใหม่ได้ทันและจะเริ่มตั้งท้องประมาณวันที่ 20 -25 กันยายน) สำหรับการตัดครั้งที่ 3 ให้ระมัดระวังและสังเกตเป็นพิเศษ ถ้าไม่มั่นใจ คือก่อนจะทำการตัดใบข้าวให้ทำการผ่าต้นข้าวดูก่อน ถ้าต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง (ต้นข้าวจะมีลักษณะกลมมีข้อปล้อง ) ห้ามตัดใบข้าวอย่างเด็ดขาด
  1. ถ้าทำนาก่อนเดือนพฤษภาคมให้ทำการตัดใบข้าวในช่วงเดียวกัน แต่ให้ระวังในการตัดใบข้าวในช่วงที่ 3 เพราะต้นข้าวจะแก่ลำต้นข้าวจะแข็งและตั้งท้องเร็วกว่าปกติเล็กน้อย
ให้ทำการใส่ปุ๋ยตามระยะการปลูกข้าวปกติ วิธีการตัดใบข้าว
  1. การใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายหลังที่มีใบมีดคมๆ โดยตัดที่ตำแหน่งเหนือสะดือของต้นข้าว (สูงกว่าซอกกาบใบของต้นข้าว )
  2. ในกรณีการใช้เคียวเกี่ยวใบข้าว ให้วางเคียวขนานกับพื้นดินการเกี่ยวใบออกจะได้ระดับและความ สูงสม่ำเสมอกัน
  3. ใช้ได้ผลดีทั้งข้าวนาดำและนาหว่านแต่ข้าวนาหว่านการตัดใบข้าวจะทำได้ลำบากเพราะต้นข้าวจะถี่
ข้อควรระวัง
  1. ข้าวกำลังตั้งท้องห้ามตัดใบอย่างเด็ดขาด
  2. พื้นที่ปลูกข้าวที่มีลักษณะเสี่ยง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมได้ง่าย, พื้นที่ดอนหรือแห้งแล้งจัดเพราะพืชอาจจะโดนน้ำท่วมในกรณีที่ฝนมาเร็วและอาจจะแห้งตายในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง (ควรฟังพยากรณ์อากาศด้วย)
ห้ามตัดใบข้าวในช่วงข้าวเกิดโรคระบาดเพราะเชื้อโรคอาจจะเข้าทางรอยแผล หรือไปกับน้ำซึ่งจะทำให้โรคระบาดได้เร็วขึ้น ข้อดีของการตัดใบข้าว
  1. ลดปริมาณของใบข้าว ,ตัดใบข้าวแก่ที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
  2. ช่วยกำจัดวัชพืช (หญ้า)ได้ เป็นการตัดวงจรของวัชพืชได้เป็นอย่างดี
  3. ช่วยลดการระบาดของโรค–แมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
  4. ใบข้าวที่ตัดออกจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้อย่างดีหรือจะนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ก็ได้
  5. ทำให้ข้าวมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเมล็ดข้าวมีน้ำหนักขายได้ราคา
  6. ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น ปุ๋ย, ยาป้องกันกำจัดโรค – แมลง, ยาปราบศัตรูพืช
  7. แสงแดดสามารถส่องถึงพื้นน้ำ/ดิน อากาศในดินระบายได้ดีทำให้เกิดการสร้างแหล่งอาหารตาม ธรรมชาติได้ดีเช่นแพลงต้อน/ไรน้ำ
  8. การเก็บเกี่ยวง่ายไม่มีวัชพืชเจือปนกับเมล็ดข้าว
  9. เมื่อนำไปจำหน่ายจะได้ราคาที่สูงขึ้นเพราะเมล็ดข้าวสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน
หมายเหตุ
  1. การคิดระยะการตัดใบข้าวใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ข้าวชนิดอื่นปรับระยะการตัดใบตามความเหมาะสม
  2. การตัดใบข้าวจะตัด 1- 2 ครั้งก็ได้แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้ง (ให้สังเกตถ้าใบข้าวคลุมหญ้าได้ ก็ไม่ต้องตัดใบข้าวอีก )
แหล่งที่มา: http://group.wunjun.com/aggri4/topic/42782-1003
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save