เห็ดสกุล “นางรม” เตรียมรับมือ 2 หนอนแมลงวัน

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

กลางวันอากาศร้อน กลางคืนอากาศเย็น และมีอุณหภูมิสูงขึ้น กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้เพาะเห็ดสกุลนางรมให้เฝ้าระวังหนอนแมลงวันเซียริดและหนอนแมลงวันฟอริด ในช่วงบ่มเส้นใยจนถึงช่วงเปิดดอก จะพบหนอนแมลงวันกัดกินเส้นใยเห็ด ทำให้เส้นใยเห็ดไม่เจริญ ถ้าระบาดรุนแรงก้อนเห็ดยุบตัวได้ และเห็ดในระยะออกดอก มักพบหนอนแมลงวันเจาะเข้าไปทำลายส่วนของโคนต้นและหมวกดอก ทำให้ดอกเน่าเสียและเป็นโรคได้

แนวทางการป้องกันและแก้ไขการเข้าทำลายของหนอนแมลงวันเซียริดและหนอนแมลงวันฟอริด ให้เกษตรกรเตรียมโรงเรือน โดยการทำความสะอาดโรงเรือน และพ่นบริเวณพื้นฝาผนังและหลังคาโรงเรือนให้ทั่วด้วยสารคลอรอกซ์ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารมาลาไทออน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าแมลงและเชื้อโรคที่สะสมภายในโรงเรือน จากนั้น ควรปิดโรงเรือนให้มิดชิด และทิ้งไว้อย่างน้อย 7-10 วัน

สำหรับการเลือกซื้อหัวเชื้อพันธุ์เห็ดหรือถุงก้อนเชื้อเห็ด เกษตรกรควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ไม่มีประวัติการระบาดของแมลงวันศัตรูเห็ดมาก่อน กรณีที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือประวัติของถุงก้อนเชื้อเห็ด ในขณะที่เส้นใยเห็ดเดินมากกว่า 25% หรือก่อนเปิดดอก เกษตรกรควรที่จะทำการป้องกันด้วยการพ่นสารคาร์บาริล อัตรา 40-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นเฉพาะ ที่จุกสำลีเท่านั้น จากนั้น ก่อนการนำเข้าถุงก้อนเชื้อเห็ดเพื่อเปิดดอกในโรงเรือน เกษตรกรควรคัดทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่ถูกทำลายจากศัตรูพืช หรือไม่แน่ใจควรแยกถุงก้อนเชื้อเห็ดกองไว้ต่างหาก

นอกจากนี้ ให้เกษตรกรติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองชนิดแบนหรือทรงกระบอกชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 6-8 ตัว ต่อโรงเรือน (ขนาด 8×20 เมตร) โดยติดตั้งระหว่างชั้นเห็ดที่มีระดับสูงจากพื้นโรงเรือนประมาณ 1.5-1.8 เมตร ที่สำคัญควรติดตั้งในที่ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน และไม่ถูกน้ำบ่อย ถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งใกล้มุมมืด เพราะตัวแก่ของแมลงชอบเกาะอาศัยอยู่ตรงมุมมืด และควรเปลี่ยนหรือนำกับดักมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินและทากาวเหนียวใหม่ทุก 10–15 วันตลอดฤดูการผลิต หรือให้พิจารณาว่าหากมีแมลงติดเต็มแล้วก็ควรนำมาเปลี่ยนหรือทากาวเหนียวซ้ำอีกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับและลดปริมาณของแมลงที่จะทำลายเห็ดได้

หากพบตัวแก่ของแมลงเกาะตามมุมโรงเรือน ฝาผนัง หรือมุมอับ ให้พ่นด้วยสารกำจัดมาลาไทออน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดอะซินอน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นตามพื้นหรือมุมโรงเรือน หรือพื้นที่ที่แมลงเกาะอยู่ หลีกเลี่ยงการพ่นลงบนเห็ดหรือถูกเห็ดโดยตรง อาจเกิดพิษตกค้างในดอกเห็ด และอาจทำให้ดอกเห็ดเกิดอาการผิดปกติจนส่งขายในตลาดไม่ได้ เมื่อเสร็จสิ้นรุ่นของดอกเห็ดแล้ว ให้เกษตรกรนำถุงก้อนเชื้อเห็ดออกผึ่งแดดนอกโรงเรือน หากพบก้อนเชื้อเห็ดที่มีรอยทำลายของหนอนแมลงวันควรทำการฝังหรือเผาทิ้ง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และป้องกันการแพร่กระจายเข้าสู่โรงเรือนเพาะเห็ดข้างเคียงต่อไป

ที่มา: https://www.kasetkaoklai.com/home/2018/03 /เห็ดสกุล-นางรม/

[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a5-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%a3/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save