มะเขือพวงไร้หนาม

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

ถ้าแกงเขียวหวานหม้อนี้ไม่ได้ใส่มะเขือพวง ถ้าน้ำพริกกะปิครกนี้ไม่มีมะเขือพวง รวมทั้งอาหารอีกหลากหลายชนิดที่ต้องมีมะเขือพวงเป็นเอกลักษณะเฉพาะ รสชาติ ความเป็นเอกลักษณ์คงหมดไปอย่างแน่นอน คนไทยกับมะเขือพวงเคียงคู่รู้จักกันมานานจนอาจเปรียบได้ว่าเป็นเพื่อนสนิททีเดียว มะเขือพวงนอกจากจะเป็นพืชอาหารดังกล่าวแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจอีกด้วย อาทิเช่น การรับประทานผลของมะเขือพวงจะมีผลทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีแก้ไอ  ขับเสมหะ ส่วนของรากนำมาจำแล้วพอกรักษาอาการส้นเท้าแตก น้ำสกัดจากต้นใช้แก้พิษงู และแมลงสัตว์กัดต่อย เมล็ดนำไปเผาสูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน ใบสดใช้ห้ามเลือด พวกให้ฝีหนอกแตกเร็วขึ้น ผลต้มน้ำกินแก้ไอในเด็ก การใช้ประโยชน์ในประเทศไทยยังคงใช้เป็นอาหารเป็นส่วนใหญ่ และนอกจากนั้นปัจจุบันนิยมนำมาใช้เป็นต้นตอสำหรับเปลี่ยนยอดให้กับพืชอื่น เช่น มะเขือเทศ มะเขือม่วง เพื่อเป็นการป้องกันโรคทางดินบางชนิด เช่นโรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย

ถ้ามองดูโดยผิวเผินอาจจะมองเห็นว่ามะเขือพวงเป็นพืชหัวไร่ปลายนา มิได้มีความสำคัญมากนัก ซึ่งจะเห็นได้จากข้อมูลเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ การรวบรวมพื้นที่ปลูก ผลผลิต ราคา รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ นับว่าน้อยมาก แต่ถ้ามองไปถึงความต้องการในแง่ของการบริโภคคุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพร นับได้ว่าพืชชนิดนี้มีศักยภาพไม่น้อยเลยทีเดียว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มะเขือพวง จนได้มะเขือพวงพันธุ์ใหม่ คือ “แม่โจ้นิรมิต 1” (ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการรับรองพันธุ์) มะเขือพวงพันธุ์แม่โจ้นิรมิต 1 มีสายพันธุ์ดั้งเดิมได้มาจากอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในปี 2537 ได้มีการนำมาปลูกที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีความแตกต่างจากมะเขือพวงของภาคเหนื โดยมะเขือพวงของภาคเหนือจะมีหนาม ซึ่งจำนวนและลักษณะของหนามจะมากน้อยแตกต่างกันออกไป ส่วนมะเขือพวงจากอำเภอดำเนินสะดวกนั้นจะมีลักษณะเด่นที่ไม่มีหนาม การนำมาปลูกในครั้งแรกพบว่า ลักษณะการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากพันธุ์เดิม โดยมีขนาดทรงพุ่มกว้าง ต้นสูง การแตกกิ่งแขนงมากกว่า ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน นอกจากนั้นยังมีอายุยืนนานสามารถทำการคัดแต่งกิ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นเริ่มทรุดโทรมได้ถึง 2 รอบ จึงได้นำมาพัฒนาสายพันธุ์ โดยการคัดเลือกต้นที่มีลักษณะโดดเด่นด้านความแข็งแรงของระบบราก ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในครั้งนั้นเพื่อที่จะใช้เป็นต้นตอของพืชตระกูลมะเขือ ได้แก่ มะเขือเทศ และมะเขือม่วง ซึ่งมีปัญหาด้านความไม่ต้านทานโรคทางดินเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามขณะที่ทำการคัดเลือกเพื่อวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวพบว่ามะเขือพวงที่ได้ทำการคัดเลือกไว้บางต้นมีลักษณะในการผลิตสดได้ดี คือ ผลดก ติดผลเร็ว รสชาติดี ประกอบกับการที่เป็นมะเขือพวงที่ไม่มีหนามทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย อีกทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จึงได้ทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบหมู่ (Mass selection) จนได้พันธุ์มะเขือพวงที่มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีหนาม ผลดก รสชาติดี เป็นพันธุ์ที่มีต้นแข็งแรง ต้านทางโรคทางดินได้ดี และได้ทำการตั้งชื่อพันธุ์ว่า “แม่โจ้นิรมิต 1” เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับ ดร.นิรมิต กิจรุ่งเรือง อาจารย์ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชผัก ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผู้ล่วงลับ

ลักษณะประจำพันธุ์

– ไม่มีหนาม

  ให้ผลดก และติดผลเร็ว

  มีรสชาติดี

  มีลำต้นแข็งแรง และต้านทานโรคทางดินดี

  มีกิ่งแขนงมาก และมีทรงพุ่มกว้าง

  อายุต้นกล้าประมาณ 1 เดือน

  อายุการเก็บเกี่ยว 80-90 วันหลังย้ายปลูก

  ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ตลอดปี

  อายุยาวนาน 2 – 3 ปี

การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา

มะเขือพวงเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด อีกทั้งเป็นพืชผักที่มีอายุยาวนาน นิยมปลูกเป็นพืชผักสวนครัว และปลูกเชิงการค้า

การเตรียมดิน

โดยการไถตากดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ขึ้นแปลงขนาดกว้างประมาณ 1.20 เมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 – 2 ต้น / ไร่

การเพาะกล้า

นำเมล็ดไปแช่น้ำ แล้วห่อด้วยผ้าหมาด ๆ ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน หรืออาจจะแช่น้ำอุ่นประมาณ 40 – 50  องศาเซลเซียส (อุ่นพอที่จะแช่มือลงไปได้) นานประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาห่อผ้าหมาด จะเป็นการเร่งความงอกได้ดีขึ้น นำเมล็ดลงเพาะในแปลงเพาะหรือกระบะเพาะ หมั่นรดน้ำดูแลจนอายุได้ประมาณ 1 เดือน สามารถนำไปปลูกได้

การใส่ปุ๋ย

หลังปลูกประมาณ 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยยูเรีย โดยการผสมน้ำรด และทุก ๆ 20 – 30 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราประมาณ 25 – 30 กิโลกรัม / ไร่ / ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาการใส่ปุ๋ยควรพิจารณาจากต้น และลักษณะการเจริญเติบโตของพืชเป็นหลัก

การเก็บเกี่ยว

มะเขือพวงพันธุ์แม่โจ้นิรมิต 1 สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 80 – 90 วัน หลังย้ายปลูก และทยอยเก็บเกี่ยวได้เรื่อย ๆ เมื่อต้นอายุมากขึ้นเริ่มทรุดโทรม สามารถทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มีการแตกกิ่งก้านและให้ผลผลิตใหม่ได้อีก

อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่

ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 30 กรัม ต่อไร่

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873380 ในวันและเวลาราชการ

การปลูก

ปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5 เมตร ระยะระหว่างแถว ประมาณ 2 เมตร

ที่มา: http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/knowledge/2010/103-eggplant

[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/15812/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save