โรคผลเน่าของแคนตาลูป

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

เมื่อก่อนโรคผลเน่าที่มักพบจะเกิดจากเชื้อราในดิน โดยแคนตาลูป และเมล่อนที่มีตาข่าย จะพบเชื้อราฟิวซาเรียม เซมิเตคตัม( Fusarium semitectum ) ส่วนแคนตาลูปผลสีเหลืองมักพบเชื้อราฟิวซาเรียมโซลานาย (Fusarium solani ) ซึ่งก็ได้พยายามปรับปรุงวิธีการปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงโรคนี้ จนทำให้ปัญหาของโรคลดลงได้ แต่ในช่วง 1 – 2 ปีหลังมานี้อาการผลเน่ากลับพบมากขึ้น เมื่อตรวจสอบพบว่าส่วนมากเป็นอาการผลเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตพืชตระกูลแตง ไม่ว่าจะเป็นแตงโม หรือแคนตาลูป โรคผลเน่าของแคนตาลูปนี้ มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp citrulli อาการของโรคสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ในระยะกล้า แต่เกษตรกรมักจะละเลยการสังเกตในช่วงนี้ และจะมารู้การระบาดของโรคอีกทีก็ต่อเมื่อผลเน่าแล้ว อาการบนต้นกล้า  เกิดจุดเล็กๆฉ่ำน้ำด้านหลังของใบเลี้ยง ซึ่งสังเกตค่อนข้างยาก แต่เมื่อมีการเจริญเพิ่มปริมาณของเชื้อมากขึ้น จะสังเกตเห็นจุดแผลที่ด้านบนใบ เป็นจุดแผลสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ ถ้าหากสภาพอากาศชื้นเหมาะต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุ การเจริญของเชื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ใบร่วงและอาจรุนแรงจนทำให้ต้นกล้ายุบตายไปได้ ถ้าพบระบาดในระยะต้นกล้า ถ้าเจอต้นแสดงอาการเพียง 1 ต้น ต้องถอนต้นที่อยู่รอบต้นกล้านี้ทิ้งไปด้วยแม้จะไม่แสดงอาการก็ตามเพราะเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่ไปแล้วด้วยค่ะ อาการบนใบ ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นโต บนใบจะสังเกตเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลแห้ง รอยแผลไม่แน่นอน นอกจากนั้นจะเห็นร่องรอยการเจริญของเชื้อสาเหตุตามเส้นใบพืช โดยเส้นใบพืชเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ อาการส่วนมากจะเริ่มเกิดจากขอบใบ อาการบนผล เริ่มจากจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ วาวเหมือนปื้นน้ำมันลักษณะไม่แน่นอน เมื่อผ่าดูตรงส่วนที่มีรอยแผลเล็กๆนั้นเนื้อจะช้ำ แผลที่เกิดที่ผิวของผลจะขยายลุกลามออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลแตกเนื้อภายในเน่า ร่วงหล่น ทำไมโรคนี้จึงเป็นปัญหาที่ป้องกันกำจัดยากมาก ประการแรกคือมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งบ้านเรามีสารกำจัดเชื้อแบคทีเรียน้อยมาก หรือที่มีอยู่ก็ใช่ว่าจะมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ประการต่อมาคือ เชื้อสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ พบว่าร้อยละ 44 ของเมล็ดมีการปนเปื้อนของเชื้อสาเหตุโรคเน่า อีกอย่างการปลูกของเกษตรกรมักจะเริ่มป้องกันกำจัดเมื่อเริ่มพบแสดงอาการ หรือเมื่อเริ่มติดผลแล้ว ทำให้โอกาสที่เชื้อจะเข้าไปเจริญอยู่ในผลแล้ว และการยับยั้งการเจริญของเชื้อที่อยู่ในผลแล้วเป็นไปได้ยากมากและจะพบความเสียหายของโรคนี้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะร่วงหล่นเสียหายอย่างมากมาย ในบางฤดูปลูกเสียหายมาถึงร้อยละ 70 การป้องกันกำจัด ในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของผลผลิต ถ้ารอให้พบอาการโรคบนผลก่อน แล้วค่อยดูแลรักษาย่อมจะไม่ทันการ เพราะเหตุผล 3 ประการที่ทำให้โรคนี้รักษายากดังกล่าวแล้ว การป้องกันกำจัดโรคนี้โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีการระบาดของโรคมากและรวดเร็ว ควรจะเริ่มตั้งแต่ในระยะออกดอก เป็นการกันไว้ก่อนจะเป็นการดี ต้องพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรียเมื่อพบการระบาดของเชื้อ และควรพ่นเป็นระยะตั้งแต่ก่อนติดผล อาจจะทิ้งช่วงห่างได้บ้าง แต่ปัญหาก็คือ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และสารเคมีกำจัดเชื้อแบคทีเรียในบ้านเราก็มีอยู่น้อยมาก เช่น คอปเปอร์ คาซูก้ามัยซิน สเตร๊ปโตมัยซิน หรือแม้กระทั่งสารกลุ่ม non- ionic ซึ่งก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคนี้จึงยังสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรต่อไป….. เครดิต กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ จากคุณหนึ่ง Rakkaset Nungruethail แหล่งที่มา: http://www.vigotech.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539837249&Ntype=8
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%9b/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save