ผักหวานป่า สร้างรายได้ทั้งหมู่บ้าน

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

ต้นผักหวานป่าที่ปลูกท่ามกลางป่าเบญจพรรณ และพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งหมู่บ้านหนองบัวค่าย ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี นับเป็นพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านที่สร้างรายได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น การปลูกผักหวานป่าของที่นี่ เป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ shutterstock_306709925-1 ในอดีตชาวบ้านจะเข้าไปในพื้นที่ป่า อ.สวนผึ้ง เพื่อเก็บยอดผักหวานป่าออกมาขาย แต่ระหว่างทางมักเกิดอุบัติเหตุ หรือถูกงูกัด เนื่องจากต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด ชาวบ้านจึงเริ่มพัฒนาด้วยการเก็บเมล็ดผักหวานป่ามาทดลองเพาะกล้า และลงปลูกเองจนประสบความสำเร็จ ทำให้สร้างรายได้ทั้งหมู่บ้าน เตือนใจ มิอะ ประธานกลุ่มอาชีพบ้านหนองบัวค่าย กล่าวว่า การปลูกผักหวานป่าของบ้านหนองบัวค่ายไม่ใช่อาชีพหลัก แต่เป็นอาชีพเสริม ซึ่งเป็นอาชีพที่ลดต้นทุนการผลิต คือ 1.ไม่ต้องใส่ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้มูลสัตว์ 2.เป็นพันธุ์พืชที่ประหยัดน้ำ คือใช้น้ำน้อย โดยจะใช้ในช่วงที่ต้นเล็ก พอหลังจาก 3 ปีไปแล้วจะปล่อยไปตามธรรมชาติ ถ้ามันแล้งจริงๆ ก็รดน้ำเดือนละครั้งก็ยังดี shutterstock_207516907 แม้ต้นทุนการปลูกผักหวานป่าจะไม่มาก แต่ต้องปลูกให้เป็น เนื่องจากผักหวานป่าไม่ชอบแดดจัด จึงต้องปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ร่มเงา ส่วนเทคนิคการปลูก คือโรยหินคลุก 1 กำมือลงก้นหลุมที่ขุดลึก 25 เซนติเมตร และกว้าง 30 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้ดินไม่อับชื้นเกินไป นำกล้าลงปลูก กลบดิน แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 12001 เชย กล่อมเกลี้ยง ชาวไร่ผักหวานป่า ซึ่งปลูกผักหวานป่าไว้บริเวณหน้าบ้าน เพราะอยากใช้ทุกพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ นอกเหนือจากพื้นที่ๆ ใช้ปลูกตามปกติ เชย กล่าวว่า ไม่อยากให้ที่มันว่าง ว่างก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร เราปลูกเพื่อรักษาอุณหภูมิ ทำให้ชุมชนร่มรื่น และฝนตกตามฤดูกาลได้ เพราะปลูกผักหวานมาเสริมให้เป็นป่า และให้ยอดมีประโยชน์ด้วย shutterstock_179414786 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บยอดผักหวานป่า คือเดือน ก.พ.- พ.ค. เพราะมีรสชาติอร่อย สำหรับราคายอดผักหวานป่าเดือน ก.พ.จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท แต่เดือนถัดไปราคาลดลงเรื่อยๆ 20 บาทต่อกิโลกรัม จนครบ 4 เดือน เนื่องจากคนซื้อน้อยลง ดังนั้น ตลอด 4 เดือน ชาวบ้านจะมีรายได้กว่า 40,000 บาทต่อไร่ แหล่งที่มา: http://news.thaipbs.or.th/content http://goo.gl/T51Rz0
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2-%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%97/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save