ปลูกเผือกทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวช่วงแล้ง

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

เกษตรกรรายนี้เป็นหนึ่งในหลายรายที่ได้เข้าร่วมโครงการทดลองในโมเดลบริหารจัดการพื้นที่ของชาวนาในสภาวะขาดแคลนน้ำ ตามแนวคิดลดพื้นที่การปลูกข้าวและหาพืชใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมปลูกในนาข้าว 2-11 นางเพ็ญศรี ชมแค อายุ 56 ปี เกษตรกรตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ได้เล่าให้ฟังว่าตนทำนาปลูกข้าวตลอดปี แต่เมื่อเห็นโอกาสของการปลูกเผือกซึ่งใช้น้ำน้อยและมีรายได้ดีกว่าการปลูกข้าว จึงหันมาแบ่งพื้นที่ทยอยปลูกเผือกทีละแปลง และจากการปลูกมาหลายครั้งก็พบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือระหว่างเดือนตุลาคม–ธันวาคม แปลงล่าสุดเก็บผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน จากต้นทุนไร่ละ 40,000 บาท ได้ผลผลิตกว่า 4,000 กิโลกรัม มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 25 บาท น้ำหนักหัวละไม่ต่ำกว่า 800 กรัม ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายไร่ละ 120,000 บาทในขณะที่เพื่อนเกษตรกรรายอื่นจำหน่ายไปก่อนหน้านี้ มีรายได้ไร่ละ 150,000 บาท เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูงจากเทศกาลกินเจ และขณะนี้กำลังเตรียมแปลงเพื่อปลูกรอบใหม่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนซึ่งราคาเผือกจะพุ่งสูงอีกครั้งหนึ่ง shutterstock_309262790 “ถือว่าพอใจกับรายได้จากการปลูกเผือก เพราะปลูกเผือก 1 ไร่ มีรายได้มากกว่าปลูกข้าว 10 ไร่ เพราะที่ผ่านมาข้าวขายได้เพียงไร่ละ 6,000 บาทเท่านั้น ส่วนเกษตรกรที่สนใจปลูกเผือกจะต้องขยัน และมีเวลาดูแล คอยกำจัดวัชพืช เฝ้าระวังโรคไหม้และโรคเน่า ใส่ปุ๋ย ถึงเวลาเก็บผลผลิตมีพ่อค้าคนกลาง เข้ามารับซื้อถึงพื้นที่ เพื่อป้อนให้โรงงานอุตสาหกรรมและส่งออกต่างประเทศ ตอนนี้ปลูกแล้วยังไม่พอจำหน่าย จึงไม่ห่วงว่าจะล้นตลาด แต่ถ้าช่วงไหนราคาเผือกยังไม่เป็นที่พอใจก็ยืดอายุเป็น 9 เดือนแล้วค่อยเก็บขายเพื่อรอราคาให้สูงขึ้นก็ได้” นางเพ็ญศรีกล่าว shutterstock_230335870 เกษตรกรรายนี้เป็นหนึ่งในหลายรายที่ได้เข้าร่วมโครงการทดลองในโมเดลบริหารจัดการพื้นที่ของชาวนาในสภาวะขาดแคลนน้ำ ตามแนวคิดลดพื้นที่การปลูกข้าวและหาพืชใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมปลูกในนาข้าว เพื่อทดแทนรายได้จากการลดพื้นที่การทำนา ควบคู่กับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ของกรมการข้าว โดย ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีที่สำคัญจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยน ไป ทำให้ปีนี้น้ำต้นทุนจากเขื่อนมีน้อย ส่งผลต่อการจัดสรรน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการในภาคเกษตร กระทบต่อชาวนาในลุ่มแม่น้ำภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ ไม่สามารถเสี่ยงทำนาปรังต่อไปได้ เมื่อขาดรายได้จากการทำนาเกษตรกรต้องประกอบอาชีพเสริมอย่างอื่นที่อาจไม่สอด คล้องกับวิถีชีวิต และความถนัดทางกรมการข้าวจึงคิดหาแนวทางช่วยเหลือ โดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีทำการศึกษาและสร้างโมเดลบริหารจัดการพื้นที่ของชาวนาในสภาวะขาดแคลนน้ำ ตามแนวคิดลดพื้นที่การปลูกข้าวและหาพืชใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมปลูกในนาข้าว เพื่อทดแทนรายได้จากการลดพื้นที่การทำนา ควบคู่กับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งประสบความสำเร็จ ดังตัวอย่างเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว หลายฝ่ายคาดกันว่าทางกรมการข้าวคงจะมีการขยายผลสู่ทางเลือกของเกษตรกรรายอื่น ๆ ที่สนใจเพื่อนำไปปฏิบัติในช่วงวิกฤติภัยแล้งที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนี้ต่อไป แหลงที่มา: http://www.dailynews.co.th/agriculture/360175 11
[fbcomments url="https://parichfertilizer.com/en/knowledge/%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9b/" width="375" count="off" num="3" title="Comments" countmsg="wonderful comments!"]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save